Perception and Participation in Reducing Global Warming among Undergraduate Students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย สุภัทรชา เอี่ยมประเสริฐ
ปี 2554
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 394 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) สำหรับจำนวนนักศึกษาทุกคณะ/วิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จำนวนนักศึกษาทั้งหมด 24,645 คน และกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างคณะ/วิทยาลัย โดยการเทียบสัดส่วน และใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบง่าย (Sample Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน Independent Samples t-test, One-Way ANOVA (F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ของเพียร์สัน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 21 ปี มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 2.00 – 2.50 ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในคณะบริหารธุรกิจ และส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาปี 4 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวอยู่ระหว่าง 10,001 – 15,000 บาทและมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ต่างจังหวัด มีระดับการรับรู้ในการลดภาวะโลกร้อนของนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากมีระดับการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนของนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานพบว่าเพศที่แตกต่างกันให้ระดับการรับรู้และระดับการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน คณะ/วิทยาลัยที่แตกต่างกันให้ระดับการรับรู้และระดับการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของนักศึกษากับการมีส่วนร่วมต่อการลดภาวะโลกร้อน พบว่าระดับการรับรู้ของนักศึกษาโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของนักศึกษาโดยภาพรวมในระดับปานกลางและความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน
The objective of this independent study was to investigate the perception and participation in reducing global warming among the undergraduate students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The sample of the study consisted of 394 students drawn by the method of Stratified Sampling from 24,645 undergraduate students of every faculty/college of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The data were gathered using Simple Random Sampling through the application of the questionnaires. The data were analyzed using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA (F-test), and Pearson’s Correlation Coefficient.
The results of the study demonstrated that most respondents were female, between 20-21 years old, earned cumulative grade point average between 2.00-2.50, were the fourth year students in the Faculty of Business Administration, had average monthly income of 10,001-15,000 Baht, and had domiciles in different provinces. The overall perception in reducing global warming among the students was at a high level, and the overall participation in reducing global warming among the students was also at a high level.
The results of hypothesis testing demonstrated that different gender had different levels of perception and participation in reducing global warming. Different faculties/colleges had different levels of perception and participation in reducing global warming. The test of relationship between the perception and participation in reducing global warming among the students revealed that the level of overall perception had positive relationship with the level of overall participation and was at a moderate level.