The evaluation of instruction in the professional in the professional skills supplementary course based on the basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D.2008)

โดย อุไร จุ้ยกำจร

ปี 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินการจัดการเรียนการสอนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพ โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเรียนรู้ตามแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

ในการศึกษาใช้วิธีวิจัยแบบผสม แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมินการจัดการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 การศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับวิชาที่ปรับปรุงใหม่ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80/80

ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยกับการจัดการเรียนการสอน 2) เมื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนพบว่านักเรียนต้องการให้พัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุงด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการมากที่สุด เมื่อผู้สอนได้ออกแบบและปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยต่อการจัดการเรียนการสอน และมีความพึงพอใจต่อผลการปรับปรุงอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการทดสอบประสิทธิผลการเรียนรู้เมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์พบว่าคะแนนสอบของผู้เรียนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่ากับร้อยละ 85.18

This research evaluated the teaching and learning in the professional skills supplementary course based on the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) using CIPP model. The objectives of this research were 1) to evaluate the instruction, 2) to study the students’ opinions toward the instructional development, and 3) to study the learning effectiveness based on the instructional development.

The research, used Mixed Methodology, consisted of three phases. The first phase was the evaluation of the instruction. The second phase was the in-depth interview with a focus group. The last phase was the study of students’ perception of the instructional development. The research instruments used for collecting data were questionnaires and a semi-structured interview. The data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and the E1/E2 efficiency index of 80/80.

The research showed that 1) the students agreed with the instruction, 2) the students’ satisfaction toward new courses which were designed and developed in the input and the process of the instruction as recommended was at the high level, and 3) the learning effectiveness was higher than the criteria with the posttest score of 85.18.

 

Download : การประเมินการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551