The Development of Asset Control Efficiency of Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย: จรัสศรี บุญสอน
ปี: 2561
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพการควบคุมทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่ดูแลอาคารสถานที่ และผู้ใช้พัสดุ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างจานวน 148 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างโดย Independent Sample t-test, One- way ANOVA และ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นผู้ใช้พัสดุ มีอายุการทำงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี มีความรู้ความเข้าใจระเบียบกระทรวงการคลังการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อยู่ในระดับปานกลาง และเจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงานมีความรู้ความเข้าใจระเบียบกระทรวงการคลังการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับประสิทธิภาพการควบคุมทรัพย์สินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้าน ได้แก่ ด้านการเก็บรักษาพัสดุ ด้านการเบิก – จ่ายพัสดุ ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ ด้านการตรวจสอบพัสดุประจำปี และด้านการจำหน่ายพัสดุ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้านสังกัดคณะ/สานัก/สถาบัน/กอง ด้านความรู้ความเข้าใจระเบียบกระทรวงการคลังการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ของผู้ตอบแบบสอบถาม และด้านความรู้ความเข้าใจระเบียบกระทรวงการคลังการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ของเจ้าหน้าที่พัสดุในหน่วยงาน มีประสิทธิภาพการควบคุมทรัพย์สินแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05
The objective of this research was to study the development of asset control efficiency of Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT). The population used in the study include procurement and building officers, university staff derived from Faculties, Offices, and Departments as users of the supplies. The samples used were comprised of 148 staff, and a questionnaire was administered for data collection. Statistics used for data analysis include percentage, standard deviation, Independent Samples t-test, One-way ANOVA, and LSD (Least Significance Difference).
The results showed that most of the respondents were female, holding a bachelor’s degree, users of the supplies, and having 1-5 years of work experience. The user staff had knowledge and understanding of the Ministry of Finance regulations regarding the Procurement and Government Procurement Management Act B.E. 2560, at a medium level, while the officer staff did so at a high level. On average, the opinions about the asset control efficiency were at a high level. When considering the opinions in more detailed aspects of storage, disbursement, maintenance, and annual inspection of supplies, it was found that each of the aspects was also at a high level.
For the test of hypothesis, the result revealed that the user staff and the officer staff of RMUTT had different knowledge and understanding of the Ministry of Finance regulations regarding the Procurement and Government Procurement Management Act B.E. 2560, at a statistical significance level of .05.
Download: การพัฒนาประสิทธิภาพการควบคุมทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี