Attitude and satisfaction towards the quality of the education website trueplookpanya
โดย ชลธิชา บุญสมาน
ปี 2562
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติและความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพเว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Independent Sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบค่าเฉลี่ยแบบจับคู่พหุคูณ (Multiple Comparison) โดยใช้การคำนวณวิธีแบบ LSD และ การทดสอบความสัมพันธ์ Pearson’s Correlation
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 15-19 ปี เป็นนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีช่องทางในการเข้าใช้บริการเว็บไซต์จาก Google มากสุดเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ Facebook นอกจากนี้ Content ที่ชื่นชอบในเว็บไซต์มากเป็นอันดับที่ 1 คือ Knowledge และ TCAS ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติอยู่ในระดับที่ดีมากต่อเว็บไซต์และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศและช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์ ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมในการเข้าใช้บริการ แต่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันนั้น มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ โดยกลุ่มที่มีการศึกษาระดับ ม.ปลาย/ปวช. มีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่า ม.ปลาย ในส่วนของทัศนคติของผู้ใช้บริการ ทัศนคติในด้านเนื้อหาข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในระดับปานกลาง (r = .311**) ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (r = .259*) ด้านความเป็นมัลติมีเดียและความทันสมัย (r = .190**) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในระดับค่อนข้างต่ำ ด้านฟังก์ชั่นการใช้งานและระบบ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในระดับต่ำมาก (r = .119*) และความพึงพอใจโดยรวมในการใช้บริการมีความสัมพันธ์กับการแนะนำให้บอกต่อกับผู้อื่นให้เข้ามาใช้บริการในระดับสูง (r = .697*)
Abstract
The objective of this independent study was to investigate the attitude and satisfaction towards the quality of the education website TruePlookpanya. A questionnaire was used as the research instrument to collect data from the samples who were 400 respondents. The statistics used for the data analysis were percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, One-Way ANOVA, Multiple Comparison Test using LSD method and Pearson’s Correlation.
The research result showed that most of the respondents were female, aged between 15-19 years old with an educational background of high school or vocational school students. The Google Website was used as the first search engine to access the website, and Facebook, respectively. In addition, the favorite content on the website was Knowledge and TCAS. Most respondents had very good attitudes towards the website and were satisfied at the highest level.
The hypothesis testing revealed that different genders and different ways to accessthe website did not affect the overall satisfaction using the service. Nevertheless, different educational levels affected the satisfaction of using the service. The groups with high school/vocational education were more satisfied than those with an education level lower than high school. In terms of the attitude of users, the attitude towards the information content correlated with the satisfaction at a moderate level (r = .311**), benefits (r = .259*), multimedia and modernity(r = .190**), and functional and system aspects correlated with satisfaction at a very low level (r = .119*).The overall satisfaction with the use of the service was related to recommendation to tell others to use the service at a high level (r = .697 *).
Download : ทัศนคติและความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพเว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาเพื่อการศึกษา