The Factors Affecting Performance Efficiency in Electronic Office System of Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย มาริดา ชิณโย

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) และการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) . ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) ปัจจัยการยอมรับที่มีผลต่อประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที ค่าเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์เชิงถดถอย

ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรียอมรับการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ทัศนคติ ความตั้งใจ การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความง่าย สามารถใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก 2) ทดสอบสมมติฐาน พบว่า จำนวนวันการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันมีผลต่อ การยอมรับการใช้และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ผู้ที่เคยได้รับการอบรมกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการอบรมมีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุขั้นตอนเพื่อหาตัวแปรที่มีอำนาจในการทำนายของประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในภาพรวมมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย เท่ากับ .79 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งานส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย เท่ากับ .27 และการรับรู้ความง่ายการใช้งานส่งผล ต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย เท่ากับ .20


ABSTRACT

The purposes of this research were to 1) study work Performance and technology acceptance of the electronic office system of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) examine factors affecting the efficiency performance of the electronic office system of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, A sample of 400 cases selected from a staff who used an electronic office system. Use questionnaires to collect information. The data analyzed by using statistics of percentage, mean, and standard deviation. Test the hypothesis with t-value, f-value, the Pearson correlation coefficient, and regression correlation.

The results showed that 1) the staff accepted to use as a whole at a high level. Such as attitude, intention, benefit perception, and the perception of easy. Able to use the electronic office system in their operations with efficiency at a high level. 2) The hypothesis test found that the Duration of use affects the acceptance of use and effectiveness in performing different tasks. Trained and untrained persons had a different effect on performance at the 0.05 level. The multiple regression analysis to find the variables that can predict the effectiveness of the operation found that the acceptance factor affects the effectiveness of the electronic office system with a regression coefficient of .79 Considering each aspect, the perceived benefit affects the effectiveness of the electronic office system with a regression coefficient of .27 and the perceived ease affects the effectiveness of the electronic office system with a regression coefficient of .20


Download: The Factors Affecting Performance Efficiency in Electronic Office System of Rajamangala University of Technology Thanyaburi 

ใส่ความเห็น