Application of Ligninolytic Fungi for Biopulping from Banana Pseudo-Stem of Num – Wa
โดย กรกนก กอวงค์, นริศรา ศรีเมฆ และอภิญญา เจ็กภู่
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
จากการศึกษาการใช้ราย่อยลิกนินในการผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าโดยวิธีทางชีวภาพ พบว่า ปริมาณเชื้อรา T. viride ที่เพิ่มมากขึ้นไม่มีผลต่อค่า Kappa number และการย่อยลิกนิน แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง ส่วน T. harzianum และ T. hamatum ปริมาณเชื้อและระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อค่า Kappa number และการย่อยลิกนิน เมื่อนำชุดการทดลอง T. viride T. harzianum และ T. hamatum ที่เพาะเลี้ยงนาน 5 สัปดาห์ มาเปรียบเทียบค่า Kappa number การย่อยลิกนิน การย่อยเซลลูโลส และค่า Selection factor พบว่า ชุดการทดลอง T. viride มีค่า Kappa number น้อยที่สุด มีค่า Selection factor สูงที่สุด เท่ากับ 0.026 รองลงมาคือ ชุดการทดลอง T. harzianum และชุดการทดลอง T. hamatum มีค่า Selection factor เท่ากับ 0.020 และ 0.019 ตามลำดับ จากการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride ฟอกด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ร้อยละ 0 8 10 12 14 และ 16 มีค่า Kappa number น้อยกว่าเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. harzianum และ T. hamatum และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี พบว่า เยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย
T. viride และ T. harzianum มีค่า Kappa number น้อยกว่าเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี ยกเว้นเยื่อจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. hamatum สำหรับคุณสมบัติทางกายภาพ และความเหนียวของกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี T. viride T. harzianum และ T. hamatum พบว่าปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เหมาะสมสำหรับฟอกเยื่อกระดาษ คือ ร้อยละ 14 12 12 และ 10 ตามลำดับ เมื่อนำกระดาษที่ผลิตด้วย T. viride T. harzianum และ T. hamatum มาเปรียบเทียบกัน พบว่า
T. viride มีความเหมาะสมที่สุดในการผลิตกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าด้วยวิธีทางชีวภาพ และเมื่อนำกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมีเปรียบเทียบกับกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride พบว่า กระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าที่ผลิตด้วย T. viride มีความขาวสว่างมากกว่ากระดาษที่ผลิตด้วยวิธีทางเคมี ส่วนคุณสมบัติด้านความต้านทานแรงดันทะลุ และความต้านทานแรงฉีกขาดของกระดาษที่ผลิตด้วย T. viride มีความแข็งแรงเกินกว่ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด ดังนั้น T. viride สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษเชิงหัตถกรรมจากกาบกล้วยน้ำว้าได้
Studying of application of ligninolytic fungi for biopulping from banana pseudo-stem of num – wa. was found that the incremental of made T. viride no effect to Kappa number and lignin degradation, but depending on cultured time. The amount of T. harzianum and T. hamatum and time have an effect Kappa number. When using T. viride, T. harzianum and T. hamatum treatment 5 weeks raise to compare with Kappa number, lignin degradation, cellulose degradation and selection factor of T. viride, T. harzianum and T. hamatum treatments was found that T. viride treatment showed the lowest Kappa number and the highest selection factor of 0.026, subordinate that T. harzianum treatment and T. hamatum treatment of 0.020 and 0.019, respectively. Chemical properties of paper produced by T. viride bleaching of hydrogen peroxide 0, 8, 10, 12, 14 and 16 % showed Kappa number less than the pseudo-stem of num-wa produced by T. harzianum and T. hamatum. Compare of the pseudo-stem of num-wa produced by chemical, T. viride, T. harzianum and T. hamatum showed the pseudo-stem of num-wa produced by T. viride and T. harzianum have Kappa number less than paper produced by chemical, exclusive of the pseudo-stem of num-wa produced by T. hamatum. Physical properties and properties of toughness of paper produced by chemical, T. viride, T. harzianum and T. hamatum the appropriate amount of hydrogen peroxide for bleaching of 14, 12, 12 and 10 %, respectively. Comparison with the paper produced by T. viride, T. harzianum and T. hamatum resulted that T. viride was suited for biopulping from banana pseudo-stem of num – wa. Comparison of paper produced by chemical and paper produced by T. viride showed that the paper produced by T. viride had brightness more than paper produced by chemical and properties of burst strength, and tear resistance of paper produced by T. viride was above the industrial specific standard products. There fore handmade paper from psendo – stem of Num-Wa could produced by T.viride.
DOWNLOAD : การใช้ราย่อยลิกนินในการผลิตเยื่อกระดาษจากกาบกล้วยน้ำว้าโดยวิธีทางชีวภาพ