The Participation of Thai Glass Industries PublicCompany Limited Employee Effecting to The Quality Control Circle Activity

โดย ทวีชัย ถิ่นฐานทรัพย์

ปี      2549

บทคัดย่อ (Abstract)

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของพนักงานในองค์กรที่มีส่วนร่วมต่อกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ และเพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มพนักงานในฝ่ายโรงงานราษฎร์บูรณะของบริษัทอุตสาหกรรมทำเครื่องแก้วไทย จำกัด(มหาชน) ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ t – test ,Anova และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Correlation และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สำหรับผลการศึกษาวิจัยเป็นดังนี้

ข้อมูลทั่วไปของพนักงานในองค์กร พบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 36 – 45 ปีรายได้ต่อเดือน 10,001 – 15,000 บาท ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช. สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน ระดับพนักงานปฏิบัติการ อายุการทำงานในบริษัท 20 ปีขึ้นไป และ มีประสบการณ์ด้าน กลุ่มควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่ 6 เดือนแต่ไม่เกิน 1 ปี

ผลการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ เรื่องการฝึกอบรม และการประชุมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60ส่วนเรื่อง การลงมือแก้ไขปัญหา การวางแผน ตรวจสอบผลการแก้ไขปัญหา การสื่อสารระหว่างกลุ่ม และจัดทำมาตรฐาน พนักงานมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 3.093.05 2.99 และ 2.89 ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์การปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพพนักงานมีผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.61 และ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านคุณภาพ ด้านการส่งมอบ และ ด้านต้นทุน พนักงานมีผลการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.403.29 3.15 และ 3.09 ตามลำดับ

การทดสอบสมมติฐาน ข้อมูลทั่วไปของพนักงานในองค์กรสามารถสรุปผล ได้ดังนี้

เพศ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ในด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ส่วนอายุ รายได้ต่อเดือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ตำแหน่งงาน อายุการทำงานที่แตกต่างกันมีผลต่อการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพไม่แตกต่างกัน และประสบการณ์ทำกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ด้านคุณภาพ แตกต่างกัน

การทดสอบสมมติฐานเรื่องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพกับผลการปฏิบัติ งานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ สามารถสรุปผล ได้ดังนี้

การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ เรื่อง การวางแผน การลงมือแก้ไขปัญหาตรวจสอบผลการแก้ไขปัญหา จัดทำมาตรฐาน และการสื่อสารระหว่างกลุ่ม มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ในทุกๆ ด้านยกเว้นด้านความปลอดภัย ส่วนเรื่องการฝึกอบรมและการประชุมมีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ในด้านคุณภาพและด้านการส่งมอบเท่านั้น

DOWNLOAD