Gratification Level Operational Consuming Computer Technology In Case The Provincial Administration Center at Prachinburi Province

โดย บุญฤทธิ์ ถนัดรบ

ปี     2549

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรในศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี คือข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในศูนย์ราชการในจังหวัดปราจีนบุรีเท่านั้น โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้จำนวนทั้งหมด 249 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ค่า ทดสอบค่าที (Independent t-test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 2 กลุ่ม ถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความ แตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (LeastSignificant Difference) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS forWindows

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 ปีแต่ไม่ถึง 35 ปี จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี มีอาชีพเป็นข้าราชการ มีรายได้ 10,001-20,000บาทต่อเดือน นอกจากนั้นข้อมูลระดับความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี สรุปผล ได้ดังนี้ระดับความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานโดยรวมที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านการให้บริการ รองลงมาคือด้านการปฏิบัติงานและด้านการบำรุงรักษา ตามลำดับโดย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 3.60 และ 2.92ส่วนการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี สามารถสรุปผล ได้ดังนี้

-เพศที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฎิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน
-ช่วงของอายุคนที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฎิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน
-ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน มีค่านัยสำคัญทางสถิตที่ .05
-อายุการทำงาน หรือประสบการณ์ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน มีค่านัยสำคัญทางสถิตที่ .05
-อาชีพที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน มีค่านัยสำคัญทางสถิตที่ .05
-รายได้ที่แตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการปฎิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน

DOWNLOAD