To Study the Relationship and the Changing of the Exchange Rate with Different Factors

โดย ชุรีพร เจี๊ยบนา

 ปี     2549

การศึกษาความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของประเทศไทยอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราเงินเฟ้อ ราคาทองคำ (บาท) และมูลค่าการส่งออกของประเทศ (ล้านบาท) ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ และเพื่อสร้างสมการในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยน

 การศึกษาจะทำการศึกษาเชิงปริมาณทางสถิติ (Quantitative Approach) โดยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) และวิธีการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ (One-Sample t-test) โดยศึกษาตัวแปรตามคือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหลัก 3 สกุลที่มีการซื้อขายกันมาก 3 อันดับแรกในประเทศไทย ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯ ปอนด์สเตอริง และเยนญี่ปุ่น ส่วนตัวแปรอิสระที่ทำการศึกษามี 5 ปัจจัยด้วยกันคือ อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของไทย อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อัตราเงินเฟ้อ ราคาทองคำเฉลี่ย (บาท) และมูลค่าการส่งออกรวม (ล้านบาท) ทั้งนี้เหตุผลที่ใช้ปัจจัยดังกล่าว เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษามาโดยทำการศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2544 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเฉลี่ยเป็นรายเดือน

การศึกษาความสัมพันธ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ใช้แบบจำลองที่มีรูปแบบความสัมพันธ์จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regressions)แต่เนื่องจากตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน จึงสร้างสมการในรูปของการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Linear Regression) และนำค่าความผิดพลาดสัมบูรณ์เฉลี่ยมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (One-Sample t-test)

แบบจำลองที่ 1 (Y1) พบว่า ราคาทองคำเฉลี่ย มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และสามารถนำมาสร้างสมการในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ได้ โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 1.3 บาท
Y1 = 49.621 – 0.001084G

แบบจำลองที่ 2 (Y2) พบว่า มูลค่าการส่งออกรวม มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินปอนด์สเตอริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95และสามารถนำมาสร้างสมการในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินปอนด์สเตอริงได้ โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 2.91 บาท
Y2 = 55.801 + 0.00004211Ep

แบบจำลองที่ 3 (Y3) อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของไทย มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลเยนญี่ปุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95และสามารถนำมาสร้างสมการในการพยากรณ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลเยนญี่ปุ่นได้ โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 0.02 บาท
Y3 = 0.378 – 0.009326It

โดยกำหนดให้

Y1, Y2 , Y3 = อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ,

                     สกุลเงินปอนด์สเตอริงและสกุลเงินเยนญี่ปุ่น ตามลำดับ

              b0= ค่าคงที่

              It = อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของไทย

              Iu = อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของสหรัฐฯ

             Ir = อัตราเงินเฟ้อ

             G = ราคาทองคำ

           Ep = มูลค่าการส่งออกของไท

DOWNLOAD

Comments are closed.