Case Study in Comparison Approach of Factors on Promotion Thai Personal to Management Post in American’s Enterprise and Japanese’s Enterprise
โดย นฤมล ลลิตพงศ์กวิน
ปี 2549
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน ปัจจัยด้านอาวุโส ปัจจัยด้านมนุษยสัมพันธ์ และปัจจัยด้านเพศ ในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริกาและกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มพนักงานคนไทยที่ปฏิบัติงานในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริกาและกลุ่มพนักงานคนไทยที่ปฏิบัติงานในกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ จำนวนตัวอย่างที่ศึกษา 310 ตัวอย่าง และนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS version 11 โดยใช้สถิติ Independent t-test
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 25-ต่ำกว่า 33 ปีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี จบการศึกษาจากสถานศึกษาในประเทศ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ มีระยะเวลาในการทำงาน 1-5 ปี มีตำแหน่งงานในปัจจุบันเป็นพนักงานทั่วไป และตำแหน่งงานในอนาคตที่คาดหวัง คือ อื่น ๆ ซึ่ง ได้แก่ เจ้าของกิจการ และผู้ประกอบการ เป็นต้น
ข้อมูลของการให้ระดับความสำคัญกับปัจจัยในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความสำคัญโดยรวมด้านประสบการณ์ในการทำงานมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านเพศและด้านอาวุโส โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 4.00 3.60 3.31 และ 3.22 ตามลำดับ
ข้อมูลของการให้ระดับความสำคัญปัจจัยในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ให้ระดับความสำคัญโดยรวม ด้านประสบการณ์ในการทำงานมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านเพศและด้านอาวุโส โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 3.77 3.46 3.41 และ 3.14 ตามลำดับ
ส่วนการทดสอบสมมติฐานสามารถสรุปผลได้ดังนี้
-ปัจจัยด้านความรู้ (Knowledge) ในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริการและกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
-ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน (Experience) ในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหารของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริการและกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
-ปัจจัยด้านอาวุโส (Seniority) ในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริการและกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
-ปัจจัยด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human Relationship) ในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริการและกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
-ปัจจัยด้านเพศ (Gender) ในการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บริหาร ของพนักงานคนไทยในกิจการของผู้ประกอบการชาวสหรัฐอเมริการและกิจการของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05