Attitudes toward Mobile Phone Usages of Mathayomsuksa-1 Students at Pathumwilai School, Ampur Meaung, Pathumtani Province
โดย พอฤทัย ศรีหฤทัย
ปี 2549
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือ ความจำเป็นในการมีโทรศัพท์มือถือ ประโยชน์ของการใช้โทรศัพท์มือถือ และโทษของการใช้โทรศัพท์มือกลุ่มประชากรที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมวิไล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 123 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows โดยใช้สถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และ Pearson Correlation
ผลการวิเคราะห์ลักษณะทางประชากร
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมวิไล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 4,500 บาท ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมวิไล อำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานีที่มีต่อการใช้เครื่องมือสื่อสารประเภทโทรศัพท์มือถือ โดยให้ความสำคัญมากที่สุดในด้านความรู้ความเข้าใจในการใช้โทรศัพท์มือถือ คือการใช้โทรศัพท์มือถือควรใช้ในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น โดยมีค่าเฉลี่ย 4.67 ให้ความสำคัญมากเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านประโยชน์ของการใช้โทรศัพท์มือถือ คือโทรศัพท์มือถือสามารถสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดภายในครอบครัว โดยมีค่าเฉลี่ย4.67, ด้านวัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือ คือการติดต่อผู้ปกครอง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.36, ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน คือเมื่อมีความทุกข์หรือปัญหานักเรียนจะปรึกษาเพื่อนสนิทหรือเพื่อนคนใดคนหนึ่ง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.26, ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว คือการร่วมทำกิจกรรมกับครอบครัว โดยมีค่าเฉลี่ย 4.20, ด้านความจำเป็นในการมีโทรศัพท์มือถือ คือถ้ามีเหตุที่ต้องกลับบ้านช้าจะใช้โทรศัพท์มือถือโทรบอกกับครอบครัวในขณะนั้นทันที โดยมีค่าเฉลี่ย 4.11 และ ด้านโทษของการใช้โทรศัพท์มือถือ อยู่ในระดับมากคือ การใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่ฝนตก ฟ้าคะนอง อาจทำให้เกิดฟ้าผ่าได้ โดยมีค่าเฉลี่ย 3.92
ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน
ปัจจัยบุคคล ได้แก่ เพศ รายได้เฉลี่ยจากผู้ปกครองต่อเดือน การพักอาศัย อาชีพผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารประเภทโทรศัพท์มือถือในระดับ ต่ำมาก
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว ความสัมพันธ์กับเพื่อนความรู้ความเข้าใจในการใช้โทรศัพท์มือถือ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือสื่อสารประเภทโทรศัพท์มือถือในระดับ กลาง – ต่ำมาก