The Attractive Factor Foreign Direct Investment in Biomass Electrical Power by Small Producer in Thailand

โดย มธุรส เศรษฐพฤกษา

ปี     2551

บทคัดย่อ (Abstract)

รัฐบาลไทยมีการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการไฟฟ้ามากขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีชีวมวลซึ่งเป็นวัตถุดิบเหลือใช้จากการเกษตรอยู่มาก เป็นสิ่งดึงดูดให้นักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในกิจการไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานชีวมวล ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลของผู้ผลิตรายเล็กในประเทศไทย ศึกษาปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล ได้แก่ อุปสงค์ภายในประเทศ วัตถุดิบ ต้นทุน และนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล และศึกษาผลกระทบจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (แบบสัมภาษณ์) จากบริษัทในอุตสาหกรรมจำนวน 18 ตัวอย่าง และข้อมูลทุติยภูมิ ตั้งแต่ปี 2537-2551 จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิวิธีการทดสอบสมมติฐานใช้การหาความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร (Correlation) เพื่อหาว่าปัจจัยใดที่มีความสัมพันธ์กับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล

ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการลงทุนเป็นการเปิดกิจการใหม่มากกว่าการเข้าร่วมทุนกับกิจการของนักลงทุนชาวไทย สัดส่วนการลงทุนจากต่างประเทศส่วนมากน้อยกว่าร้อยละ 50 โดยประเทศที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น จีนมาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอาบูดาบี

ระดับทัศนคติโดยรวมของนักลงทุนที่มีต่อปัจจัยดึงดูดการลงทุนมากที่สุด คือ วัตถุดิบรองลงมา คือ อุปสงค์ภายในประเทศ นโยบายส่งเสริมการลงทุนและต้นทุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจากประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฟินแลนด์จำนวนพนักงานของบริษัทมีการจ้างงานเฉลี่ย 50-90 คนต่อบริษัท

ผลการทดสอบสมมติฐาน อุปสงค์ภายในประเทศ วัตถุดิบ และนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาล มีความสัมพันธ์ต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลของผู้ผลิตรายเล็กในทิศทางเดียวกัน

DOWNLOAD