Consumer Behavior of Weight Control Supplements in Bangkok and Suburban Areas
โดย กฤติญาณี พวงสมบัติ
ปี 2550
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อการควบคุมน้ำหนักในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยศึกษาผู้มีอายุระหว่าง 18 ปี-60 ปี จำนวน 400 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การเปรียบเทียบเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร ใช้สถิติ Chi-square การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และสถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน(Pearson Product Moment Correlation Coefficient) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรม SPSS for Window V.11
ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 28 ปีขึ้นไป การศึกษาระดับปริญญาตรี และ มีรายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน 50,000-59,999 บาท มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว จะชอบแฟชั่นการแต่งกายและรักการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง และมีความพึงพอใจในรูปร่างและน้ำหนักในระดับปานกลาง
พฤติกรรมการบริโภคของผู้ที่เคยบริโภคจะเลือกรูปแบบผลิตภัณฑ์ เป็นแบบชนิดเม็ด/แคปซูล เพราะสะดวกต่อการพกพา/บริโภค ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ที่บริโภคขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคาของสินค้า และซื้อผลิตภัณฑ์จากตัวแทนจำหน่าย แหล่งที่รู้จักผลิตภัณฑ์ คือการโฆษณาทางทีวี และเมื่อบริโภคแล้วเห็นผลจริง
ข้อมูลผู้เคยบริโภค คือ ระยะเวลาเห็นผลในการบริโภค โดยเฉลี่ย 1.31 เดือน น้ำหนักลดลง โดยเฉลี่ย 2.15 กก./เดือน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ย 1,472 บาท/เดือน ความพึงพอใจในน้ำหนักที่ลดลง โดยเฉลี่ย 2.82 กก./เดือน และผลข้างเคียงที่ได้รับจากการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง
ลำดับความสำคัญ ของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อันดับแรกคือ ด้านราคา(ราคาเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพ) ด้านผลิตภัณฑ์(สินค้ามีความปลอดภัยในการใช้) ด้านช่องทางการจัด จำหน่าย(ผลิตภัณฑ์สามารถหาซื้อได้ง่าย) และด้านการส่งเสริมการตลาด(การนำข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนสินค้า) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20, 4.00, 3.80 และ 3.78 ตามลำดับ
สมมติฐานข้อที่ 1. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภค/ไม่บริโภคอาหารเสริมเพื่อการควบคุมน้ำหนักมีระดับความสัมพันธ์ดังนี้ อันดับ 1. อายุมากกว่า 28 ปี (=.416) อันดับ 2. เชื่อว่าระยะยาวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (=.293) อันดับ 3. เชื่อว่าลดน้ำหนักได้โดยไม่ต้องออกกำลังกาย(=.279) อันดับ 4. เชื่อว่าได้รับสารอาหารครบถ้วน (=.217) อันดับ 5. เชื่อว่าลดน้ำหนักได้จริง(=.209)อันดับ 6. ความพึงพอใจที่มีต่อรูปร่างและน้ำหนัก (=.191) อันดับ 7. และเชื่อว่าไม่มีอาการโยโย่ เอฟเฟกส์ (=.191) อันดับ 8. ลักษณะทางจิตวิทยา (=.188) อันดับ 9. การศึกษา (=.182) อันดับ 10. อาชีพและอันดับ (=.169) 11. รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน (=.155)
สมมติฐานข้อที่ 2. ความพึงพอใจในการลดน้ำหนักมีความสัมพันธ์ดังนี้ คือ อายุมีความสัมพันธ์แนวโน้มการบริโภค/ไม่บริโภคในอนาคต ผลข้างเคียงที่ได้รับจากการบริโภคไม่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มการบริโภคในอนาคต
สมมติฐานข้อที่ 3. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ มีอิทธิพลต่อส่วนประสมทางการตลาดดังนี้ การศึกษามีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านผลิตภัณฑ์ รายได้และอาชีพไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ รายได้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านราคา การศึกษาและอาชีพไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านราคา รายได้และอาชีพมีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านช่องทางการจัดจำหน่าย การศึกษาไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รายได้มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านส่งเสริมการตลาด การศึกษาและอาชีพไม่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อด้านส่งเสริมการตลาด