Application of Marketing Concept of Nurse  Officer in Nursing Service of Hospitals, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center

โดย วันวิสาข์ เทพวิญญากิจ

ปี     2550

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการตลาดในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่มีคุณภาพสูงสุดตามแนวคิดด้านการตลาดของคอตเลอร์ ในการบริการของบุคลากรทางการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กลุ่มตัวอยางได้แก่ บุคลากรทางการพยาบาลประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาลวิชาชีพ และ พนักงานประจำห้องผู้ป่วย ของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 220 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบอันดับที่ของสเพียร์แมน (Spearman rank-order correlation coefficient) และสถิติการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงกลุ่ม แบบเพียร์สัน ไคสแควร์ (Pearson Chi Square)

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งเป็นเพศหญิง มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กรและมีประสบการณ์ทำงานด้านพยาบาลโดยเฉลี่ย 1 ปีขึ้นไป บุคลากรทางการพยาบาลส่วนใหญ่มีโอกาสในการศึกษาอบรมเกี่ยวกับเรื่องการนำแนวคิดด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้ในการบริการพยาบาลในระดับน้อยที่สุดซึ่งมีค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 38.6 และมีระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการนำแนวคิดด้านการตลาดมาประยุกต์ใช้ในการบริการพยาบาลในระดับน้อยและปานกลาง ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือร้อยละ 30.5 ลักษณะขององค์กร ด้านอิทธิพลของผู้บริหาร ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ด้านการจูงใจ และด้านการฝึกอบรม ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น ในระดับมาก การประยุกต์ใช้แนวคิดด้านการตลาดในการบริการของบุคลากรทางการพยาบาล ด้านการบริการที่ส่งมอบ (คุณภาพการบริการในด้านการปฏิบัติ) ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่ามีการปฏิบัติในระดับสูงมาก ด้านทัศนคติที่มีต่อมาตรฐานการให้บริการ (ความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการบริการ) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็น ในระดับสูง4มาก เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างบริการที่ส่งมอบไปยังลูกค้ามีความสัมพันธ์กับบริการที่ลูกค้ารับรู้ (ผู้วิจัยได้ข้อมูลมาจากแบบสอบถามความพึงพอใจการบริการของผู้รับบริการด้านการให้บริการของพยาบาล ประจำปี 2550 ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า
(1) บริการที่ส่งมอบไปยังลูกค้าไม่มีความสัมพันธ์กับบริการที่ลูกค้ารับรู้ และบริการที่ส่งมอบในทัศนคติที่มีต่อมาตรฐานการให้บริการของพยาบาลมีคะแนนสูงกว่าบริการที่ลูกค้ารับรู้
(2) ลักษณะขององค์กรทั้ง 4 ด้าน (ด้านอิทธิพลของผู้บริหาร,ด้านการสื่อสารภายในองค์กร และด้านการฝึกอบรม) มีความสัมพันธ์กับการบริการที่ส่งมอบ แต่ลักษณะขององค์กรทางด้านการจูงใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับการบริการที่ส่งมอบ แต่ลักษณะขององค์กรทั้ง 4 ด้าน ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อมาตรฐานการให้บริการ
(3) ข้อมูลส่วนบุคคล (ด้านระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กร ด้านประสบการณ์ทำงานด้านพยาบาล ด้านระดับการศึกษา ด้านตำแหน่งงาน ด้านโอกาสในการศึกษาอบรมและด้านระดับความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการบริการที่ส่งมอบ แต่ข้อมูลส่วนบุคคล (ด้านระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กร ด้านประสบการณ์ทำงานด้านพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อมาตรฐานการให้บริการ ส่วนด้านระดับการศึกษา ด้านตำแหน่งงาน ด้านโอกาสในการศึกษาอบรมและด้านระดับความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อมาตรฐานการให้บริกา

DOWNLOAD