Job Satisfaction of Supports Officers in Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย สุทิศา จันทรบุตร
ปี 2550
การวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2.) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง ลักษณะสายงานที่ปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม (Questionnaire)วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยคำนวณค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-testแล้วทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’)ผลการวิจัยพบว่า
1. บุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมของปัจจัยกระตุ้นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ และด้านลักษรณะงานที่ทำ ส่วนความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมของปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับ ปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 7 ด้าน คือ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ด้านฐานะตำแหน่งหน้าที่การงาน ด้านการปกครองบังคับบัญชา ด้านนโยบาย และการบริหารงาน ด้านสภาพการทำงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน และด้านเงินเดือนโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
2. บุคลากรที่มี เพศ และอายุ ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพนักงานที่มีระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน รายได้ระดับตำแหน่าง และลักษณะสายงานที่ปฏิบัติต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน