The Relationships between Motivation and Organizational Commitment of Operator Case Study of Electronics Manufacturing
โดย เสาวนีย์ อวยผล
ปี 2550
การค้นคว้าอิสระเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติงาน กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติงานตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล(2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติงานตามลักษณะปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงาน ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 270 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างกับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม โดยใช้ Independent t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้ One-Way ANOVA สำหรับกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2กลุ่ม และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS For Windows
ผลการวิจัยลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่าพนักงานระดับปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีสถานภาพเป็นโสด มีอายุระหว่าง 23-27 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 มีรายได้ 4800-9600 บาทอายุการทำงาน 1-3 ปี มีเขตที่พักอาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับที่ตั้งขององค์การ
ผลการวิเคราะห์แรงจูงใจในการทำงานรวม มีระดับปานกลาง ส่วนความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ อายุการทำงาน เขตที่พักอาศัยและสภาพการจ้าง ของพนักงานระดับปฏบัติงานที่แตกต่างกัน มีผลให้ระดับแรงจูงใจที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความผูกพันต่อองค์การพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุการทำงาน และสภาพการจ้าง ของพนักงานระดับปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีผลให้ระดับความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05