The Study of Marketing Mix Factor Influencing Thai Tourists in Selecting Resorts in Amphur Muang in Nakhon Nayok Province

โดย อินทุกานต์ ดอกนารี

ปี     2550

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ปัจจัยทางการตลาดของรีสอร์ท รวมทั้งการเลือกใช้บริการรีสอร์ทในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายกนอกจากนี้ยังศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวกับปัจจัยทางการตลาดของรีสอร์ท รวมทั้งศึกษาปัจจัยทางการตลาดของรีสอร์ทที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกใช้บริการรีสอร์ท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อ ปัจจัยทางการตลาดของรีสอร์ท โดย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน ที่เลือกมาพักรีสอร์ทในจังหวัดนครนายก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test, One-Way ANOVA วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าไค-สแควร์ การทดสอบสมมติฐานได้กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้
1. นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เลือกพักรีสอร์ท ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครนายกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี มีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 6,001-12,000บาท โดยภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง
2. ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อปัจจัยทางการตลาดในการเลือกพักรีสอร์ทในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามระดับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อด้านบุคลากรผู้ให้บริการและด้านลักษณะทางกายภาพในระดับที่มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านราคา ด้านหุ้นส่วนทางธุรกิจ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ลักษณะการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกชมน้ำตก เดินทางมาเที่ยวโดยใช้รถส่วนตัว เหตุที่เลือกมาเที่ยวจังหวัดนครนายก คือ เป็นสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมสวยงาม มีค่าใช้จ่ายมากที่สุด คือ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม แหล่งข้อมูลที่นักท่องเที่ยวได้รับในการเลือกพักรีสอร์ท คือ การแนะนำจากเพื่อน และมีความคิดเห็นว่าจะกลับมาใช้บริการอีก
3. การศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวได้แก่ เพศอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และภูมิลำเนา กับปัจจัยทางการตลาดของรีสอร์ท พบว่า อายุ อาชีพรายได้ต่อเดือน และภูมิลำเนา ของนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. การศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลการเลือกใช้รีสอร์ท กับ อินเตอร์เน็ต การแนะนำจากเพื่อน การท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ และการกลับมาใช้บริการ พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดของรีสอร์ทมีอิทธิพลต่อการแนะนำจากเพื่อนการท่องเที่ยว หนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่มีอิทธิพลกับอินเตอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

DOWNLOAD

Comments are closed.