The Factors of Risks Preventive Measures in Petrol Transportation by Truck of The Shell Company of Thailand Ltd,.
โดย พนิดา สถานสถิต
ปี 2550
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุของพนักงานขับรถ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานขับรถ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับแนวปฏิบัติการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ กลุ่มพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติ โดยสถิติที่ใช้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ Anova และใช้สัมประสิทธิ<สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สำหรับผลการศึกษาวิจัย เป็นดังนี้
ข้อมูลลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานขับรถ พบว่า พนักงานส่วนใหญ่อายุ 36 – 45 ปีสถานภาพ สมรส ระดับการศึกษา ประถมศึกษา ประสบการณ์การทำงาน 8 – 15 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 12,001 – 14,000 บาท พนักงานส่วนใหญ่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงในการป้องกันอุบัติเหตุ พนักงานเห็นด้วยด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรม ในระดับสูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31, 4.17 และ 4.41 ตามลำดับ ส่วนด้านการป้องกันความเสี่ยง และด้านการรับรู้เกี่ยวกับอันตราย พนักงานเห็นด้วยในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 และ 3.83 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันอุบัติเหตุ พนักงานเห็นด้วยด้านแนวปฏิบัติในระดับสูงมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41
จากการทดสอบสมมติฐาน 1) ลักษณะส่วนบุคคลกับปัจจัยความเสี่ยง พบว่า อายุสถานภาพ รายได้ พนักงานประสบอุบัติเหตุ ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยความเสี่ยงในด้านความรู้ด้านทัศนคติ ด้านพฤติกรรม ด้านความเสี่ยง และด้านการรับรู้เกี่ยวกับอันตราย ไม่แตกต่างกันส่วนระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยความเสี่ยงในด้านความรู้ ด้านทัศนคติ ด้านพฤติกรรมด้านความเสี่ยง ด้านการรับรู้เกี่ยวกับอันตราย แตกต่างกัน ส่วนประสบการณ์การทำงาน ที่แตกต่างกันมีผลต่อปัจจัยความเสี่ยงในด้านพฤติกรรม แตกต่างกัน 2) การทดสอบสมมติฐานลักษณะส่วนบุคคลกับแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันอุบัติเหตุ พบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน รายได้ พนักงานประสบอุบัติเหตุ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันอุบัติเหตุ ไม่แตกต่างกัน 3) การทดสอบสมมติฐานระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันอุบัติเหตุ พบว่า ปัจจัยความเสี่ยงด้านความรู้ ด้านทัศนคติด้านพฤติกรรม ด้านความเสี่ยง และด้านการรับรู้เกี่ยวกับอันตราย มีความสัมพันธ์กับแนวทางการปฏิบัติงานในการป้องกันอุบัติเหตุ