Students’ Attitudes and Understanding of the Computer Misuse Act on Computer and Internet B.E.2550 Case Study Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย กิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์
ปี 2550
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ และความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของนักศึกษาที่เรียนต่างสาขาวิชาเรียนว่าแตกต่างกันหรือไม่ และเป็นแนวทางหรือวิธีการในการแก้ปัญหาเกี’ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกต้องของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปของ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Independent T-test และ One-way ANOVA และ Crosstab ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลของทัศนคติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติ ต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับ มาก ระดับทัศนคติที่มีอิทธิพลสูงสุด 3 ระดับได้แก่ ควรมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ดังกล่าวผ่านทางสื่อต่างๆให้ประชาชนทั่วไปรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.00 ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว มีค่าเฉลี่ย 3.84 และ พ.ร.บ.ดังกล่าวทำให้พฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประชาชนทั่ว ไปไปในทิศทางที่ดีขึ้นมีค่าเฉลี่ย 3.61 ในส่วนของความรู้ความเข้าใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ดังกล่าว ในการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในระดับที่ รู้ มากที่สุด 3 ระดับ ได้แก่ การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นดูหมิ่นหรืออับอายกลุ่มตัวอย่างส่วนมาก คิดเป็นร้อยละ 74.5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบกลุ่มตัวอย่างส่วนมาก รู้ว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 68.9 และ การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกลุ่มตัวอย่างส่วนมาก รู้ ว่ามีความผิดตามพ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 65.8 แต่มีเรื่องที่กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ความเข้าใจในระดับที่ ไม่รู้ คือเรื่องการสแปมเมล์ คิดเป็นร้อยละ 63.0การทดสอบสมมติฐานทางด้านประชากรศาสตร์ สรุปได้ว่า สาขาวิชาเรียนที่แตกต่างกัน มีทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์แตกต่างกัน โดยพบว่า คณะบริหารธุรกิจ มีทัศนคติเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์แตกต่างจากคณะอื่นๆ ในเรื่องของควรมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านทางสื่อต่างให้ประชาชนทั่ว ไปรู้ ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตลดน้อยลง ทำให้การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ลดน้อยลง เช่น การส่งเมล์ขยะสื่อโฆษณา หน้าเว็บไซต์ ทำให้มีความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้ความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศลดน้อยลง และทำให้การจำหน่ายหรือเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดกฎหมายลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์แตกต่างกัน โดยพบว่า คณะบริหารธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์แตกต่างจากคณะอื่นๆ ในเรื’องของการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงและนำไปเปิดเผยโดยมิชอบการสแปมเมล์ การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นดูหมิ่นหรืออับอาย และการกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05