Factor that Affecting the Attitude of Use Laboratory Information Management System Case Study of Pollution Control Department
โดย สุพรรณวิภา เนตรสว่าง
ปี 2550
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการใช้งานระบบการจัดการข้อมูล (Laboratory Information Management System) กรณีศึกษากรมควบคุมมลพิษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ใช้งาน (ข้าราชการ พนักงานราชการลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่ว คราว) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งหมด 214 ตัวอย่าง โดยใช้การประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงไคสแควร์ การทดสอบ Independent t-test ในการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของประชากร 2 กลุ่ม ความแปรปรวนแบบทางเดียว One way ANOVA มาใช้ในการทดสอบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ (LSD)
จากการวิจัยพบว่าข้อมูลสถานภาพทั่ว ไปของผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุ 25-35 ปี โดยเป็นข้าราชการ และสังกัดสำนักจัดการคุณภาพน้ำโดยข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบการดังกล่าว พบว่า เพศและสังกัดที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบการดังกล่าวไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและประเภทพนักงานที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจการใช้งานระบบดังกล่าวแตกต่างกัน นอกจากนั้นปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติในการใช้งานระบบการจัดการข้อมูล ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากระบบการจัดการข้อมูลในการช่วยควบคุมการปฏิบัติงาน การประชาสัมพันธ์ และการจัดการเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.61 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.784 ในการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ อายุ ประเภทพนักงาน และสังกัดที่แตกต่างกันมีผลต่อทัศนคติในการใช้งานระบบการจัดการข้อมูลแตกต่างกัน
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบดังกล่าว คือ ด้านทรัพยากรบุคคล ควรมีการจัดการฝึกอบรมให้กับผู้ใช้ รวมไปถึงการประเมินผลการฝึกอบรมว่าผู้ใช้งานได้รับความรู้เพิ่มเติมมากน้อยเพียงใด และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากระบบการจัดการข้อมูล โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการควรทำการศึกษาความต้องการเพิ่มเติมของผู้ใช้งานเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุง หรือพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต รวมถึงนำมาเป็นแนวทางในการวางแผนและกำหนดนโยบายของกรมควบคุมมลพิษ