Foreign Exchange Risk Management for Import-Export Business Case Study: Electronic Parts Industrial Manufacturing in Thailand
โดย สุพัชรี กิจค้า
ปี 2550
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา ข้อมูลทั่วไป และปัจจัยที่ความสัมพันธ์ของปัจจัยผลกระทบทางด้านความเสี่ยง กับการจัดการความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ของสถานประกอบการกลุ่มโรงงานอุตสาหรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการศึกษาเชิงบรรยายที่ศึกษาจาก กลุ่มตัวอย่างสถานประกอบการกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 245 แห่ง โดยมีผู้จัดการทางด้านการเงิน และบัญชีเป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.761วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรจำนวน 201-1,000 ล้านบาทเป็นบริษัท จำกัด เป็นธุรกิจที่เป็นทั้งผู้นำเข้า-ผู้ส่งออก, มีหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และเป็นบริษัทลูกของต่างประเทศ ส่วนใหญ่มีจำนวนพนักงาน อยู่ในช่วง 201-1,000 คน มีสัดส่วนการส่งออกต่อยอดขาย และการนำเข้าต่อต้นทุน 61-80% โดยประเทศคู่ค้าหลัก จะเป็นประเทศญี่ปุ่น และมีการใช้เงินดอลล่าร์ บริษัทใหญ่ไม่มีการทำประกันความเสี่ยง โดยคิดเป็น มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยปรับสัดส่วนตามแนวโน้มอัตราการแลกเปลี่ยน ช่องทองในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารมากที่สุด คือ จากสถาบันทางการเงิน และช่องทองที่ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจค่าเฉลี่ยจากการสำรวจ พบว่า ช่องทางที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือการดำเนินธุรกิจ และบริษัทมีอำนาจการต่อรองในการซื้อขายสินค้า เมื่อบริษัทได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ในกรณีของผู้ส่งออก ไม่ว่าจะเป็น กรณีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรือ อ่อนค่าลง พบว่า ส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับราคาได้ และปรับราคาได้บางส่วน และกรณีผู้นำเข้าส่วนใหญ่สามารถต่อรองราคาได้บางส่วนสำหรับการบริหารความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยน พบว่า ด้านความถี่ในการทำการป้องกันความเสี่ยงส่วนใหญ่บริษัทมีการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แบบ Forward Contractนาน ๆ ครั้ง และบริษัทส่วนใหญ่เห็นว่าวัตถุประสงค์หลักในการทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อลดความผันผวนของระดับกำไร และเพิ่มความแน่นอนของต้นทุนการผลิต และอุปสรรคสำคัญในการทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราการแลกเปลี่ยน คือ ส่วนใหญ่บริษัทขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยง และต้นทุนในการนำเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงมาใช้ก่อนค่อนข้างสูง