Expectation of People towards Use of Service of Bangkhuwat Sub-district Municipality, Mueang Pathumthani District, Pathumthani Province
โดย ปิยวรรณ รอดรื่น
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษามุ่งศึกษาถึง ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการใช้บริการของเทศบาลตำบลบางคูวัด อำ เภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการบริการที่ได้รับของประชาชนที่เข้ามาใช้บริการของเทศบาลตำบลบางคูวัดโดยผู้ศึกษาได้ศึกษาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ที่เป็นกลุ่มประชาชนที่เข้ามาใช้บริการของเทศบาลตำบลบางคูวัด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มี 2 กลุ่ม ใช้การทดสอบค่า(F-test) กับกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า ด้านข้อมูลทั่วไป ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท มีสถานภาพโสด บริการ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่เลือกประเภทของงานที่มาใช้บริการ ด้านงานจัดเก็บรายได้ (ฝ่ายการคลัง) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ที่เลือกจำนวนครั้งในการใช้บริการคือ 1-2 ครั้งต่อปี และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคาดหวังอยู่ใน ระดับมากที่สุด ทั้ง 4 ด้าน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการบริการที่ได้รับอยู่ใน ระดับน้อย ทั้ง 4 ด้าน
ผลการทดสอบสมมติฐานในด้านความคาดหวังโดยรวม พบว่าประชาชนที่มีข้อมูลทั่วไปคือ ด้าน เพศ และ สถานภาพที่แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อการใช้บริการไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อการใช้บริการแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และข้อมูลการใช้บริการ จำนวนครั้งที่มาใช้บริการในรอบ 1 ปี แตกต่างกัน มีความคาดหวังต่อการใช้บริการในแต่ละด้านไม่แตกต่างกันซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และมีเพียงด้านประชาสัมพันธ์และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้นมีความคาดหวังต่อการใช้บริการในแต่ละด้านแตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานในด้านการบริการที่ได้รับโดยรวม พบว่า ด้านอาชีพรายได้ต่อเดือน สถานภาพแตกต่างกันมีการบริการที่ได้รับแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ยกเว้น ด้านเพศแตกต่างกันมีการบริการที่ได้รับไม่แตกต่างกัน และข้อมูลการใช้บริการ จำนวนครั้งที่มาใช้บริการในรอบ 1 ปี แตกต่างกันมีการบริการที่ได้รับทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
Comments are closed.