Factors Affecting the Opinion of Internet User in Bangkok on E.Commerce and Integrated Marketing Communication (IMC)
โดย โนอาเจน สุขใจ
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอ-นิกส์ และการสื่อสารทางการตลาดของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้การทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรประชากรทั้ง 2 กลุ่มที่เป็น อิสระต่อกัน (Independent Samples T-test) และทดสอบสมมติฐานความแปรปรวนทางเดียวของประชากรมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป (One-Way ANOVA: F-test) หากพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี Least Significant Difference(LSD)
ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุ 26-33 ปี ระดับการศึกษาขั้นสูงสุดส่วนใหญ่ปริญญาตรี ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีสถานภาพโสด มีรายได้เฉลี่ย 10,000 ถึง 19,999 บาท สถานที่ใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้านระยะเวลาโดยเฉลี่ย 60 นาทีขึ้นไป ใน 1 สัปดาห์ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาข้อมูลส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รู้จักเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากสื่อออนไลน์ ผู้ใช้ส่วนใหญ่สนใจสินค้าประเภทตั๋วรถโดยสาร ตั๋วเครื่องบิน และบริการต่างๆ ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือด้านเทคโนโลยีโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และให้ความสำคัญเรียงลำดับถัดลงมาดังนี้คือ ด้านความปลอดภัย, ด้านสินค้าและสุดท้ายด้านบริการ ตามลำดับ ต่อจากนั้นได้ศึกษาความคิดเห็นด้านการสื่อสารการตลาดพบว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือด้านการส่งเสริมการขาย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 ให้ความสำคัญเรียงลำดับถัดรองลงมาดังนี้คือด้านประชาสัมพันธ์เว็บไซต์
ผลการวิเคราะห์สมมุติฐาน ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวม พบว่าข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ระดับการศึกษา อาชีพหลัก และพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต วัตถุประสงค์ในการใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อการรับ-ส่งข้อมูล รวมถึงประสบการณ์ของผู้ที่ใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอ-นิกส์ การรู้จักเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากสื่อทีวี มีผลต่อความคิดเห็นด้านพาณิชย์อิเล็กทรอ-นิกส์ ที่แตกต่างกัน
ส่วนด้านการสื่อสารการตลาด โดยภาพรวม พบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต อายุระดับการศึกษา อาชีพหลักสถานที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ต และพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตวัตถุประสงค์ในการใช้บริการอินเตอร์เน็ต อ่านข่าว/ฟังเพลง และการรู้จักเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอ-นิกส์จากสื่อทีวีและวิทยุ ที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นด้านการสื่อสารการตลาด แตกต่างกัน