A Study of forming glass plate from glasses recycles for decoration the internal wall
โดย ศุภเอก ประมูลมาก, อนินท์ มีมนต์ และสมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาการขึ้นรูปแก้วสีบุผนังภายในจากเศษขวดแก้วสีขาวด้วยกรรมวิธีซินเตอริงนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาการนำเอาเศษแก้วที่ไม่ใช้แล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยการขึ้นรูปจะประยุกต์กระบวนการซินเตอริงมาใช้ และนำเศษขวดแก้วสีขาวซึ่งเป็นแก้วชนิดโซดาไลม์ มาผสมกับสีเซรามิกเพื่อให้เกิดเป็นสีสันสวยงามสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยศึกษาถึงการหดตัวตามกรรม วิธีทางเซรามิกและจะอ้างอิงการทดสอบความต้านทานการกระแทก และการดูดซึมน้ำ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผาเคลือบบุผนังภายใน (มอก.๖๑๓ – ๒๕๒๙) ในขั้นตอนของการทดลอง เริ่มจากขวดแก้วสีขาวมาทุบแล้วบดด้วยเครื่องบด และนำผงแก้วที่ได้ร่อนผ่านตะแกรงให้มีขนาดความละเอียด 100 เมซ และ 200 เมซ ผสมกับสีเซรามิกประเภทเกรซสเตน สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน จากนั้นนำไปอัดด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิกด้วยแรง 15 ตันต่อตารางนิ้วเพื่อให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาด 30×30×4 มิลลิเมตร และนำไปเผาซินเตอริงที่ช่วงอุณหภูมิ 700 – 850 องศาเซลเซียส จากนั้นนำแก้วสีที่ได้ไป ศึกษาการหดตัว และทดสอบการต้านทานการกระแทก การดูดซึมน้ำต่อไปจากการทดลองการศึกษาการการศึกษาการขึ้นรูปแก้วสีบุผนังภายในจากเศษขวดแก้วสีขาวด้วยกรรมวิธีซินเตอริง พบว่าอุณหภูมิที่ทำให้แก้วเกิดสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงินนั้นจะสังเกตเห็นสีที่ชัดเจนผิวเรียบเป็นมันวาวได้ที่อุณหภูมิ 750 องศาเซลเซียส เปอร์เซ็นต์การหดตัวมีแนวโน้มลดลงเมื่ออุณหภูมิการซินเตอริงสูงขึ้น และในการทดสอบความต้านการกระแทกนั้นชิ้นงานไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลังการทดสอบค่าการดูดซึมน้ำจะไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งตรงกับคุณลักษณะที่ยอมรับได้ของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระเบื้องดินเผาเคลือบบุผนังภายใน (มอก.๖๑๓ – ๒๕๒๙)
DOWNLOAD : การศึกษากระบวนการใช้เศษแก้วรีไซเคิลผลิตแผ่นแก้วสีตกแต่งผนังภายในอาคาร