Productivity Improvement of Chicken Feed Manufacturing Using Waste Reduction Technique: Case Study of Boonpisarn Co.,Ltd.
โดย ปรีชา โชติกลาง
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
วัตถุประสงค์ของการค้นคว้าอิสระนี้ เพื่อการเพิ่มผลผลิตในการผลิตอาหารไก่โดยเทคนิคลดความสูญเปล่า กรณีศึกษาโรงอาหารสัตว์บุญพิศาล จำกัด ใช้วิธีการปรับปรุงโดยการบ่งชี้ และระบุความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตอาหารไก่ผลการศึกษากระบวนการผลิตอาหารไก่โดยการชี้บ่งความสูญเปล่าต้องห้ามทั้ง 7 ประการพบความสูญเปล่าต้องห้าม 6 ประการคือ
1. ความสูญความสูญเปล่าเนื่องจากการผลิตมากเกินไป (Over Production)
2. ความสูญเปล่าจากการเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Inventory)
3. ความสูญเปล่าเนื่องจากการขนส่ง (Conveyance)
4. ความสูญเปล่าเนื่องจากกระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ (Non-effective Process)
5. ความสูญเปล่าเนื่องจากการรอคอย (Waiting)
6. ความสูญเปล่าเนื่องจากการเคลื่อนไหว (Motion)
ซึ่งได้ทำการปรับปรุงเพื่อขจัดความสูญเปล่าโดยการปรับระบบการทำงาน ปรับวิธีการทำงาน เปลี่ยนเครื่องจักร ติดตั้งระบบเครื่องจักร ปรับเปลี่ยนเวลาการทำงานใหม่ ปรับระบบการผลิตปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร เพื่อให้ลดความสูญเปล่าลง เป็นการเพิ่มผลผลิต ผลที่ได้จากการปรับปรุงทำให้กำลังการผลิต (Capacity) เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 31.5ค่าการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร(Overall Equipment Effectiveness :OEE) ในการผลิตอาหารไก่เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.2 และอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า (KW-Hr/Ton) ลดลง คิดเป็นร้อยละ 9.2