The Creative Accounting Attitude of the Registered Accountant of the Commercial Department in Bangkok and Perimeter Province
โดย รุ่งอรุณ พูลสวัสดิ์
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้า อิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีต่อการบัญชีแบบ Creative Accounting และศึกษาหาความสัมพันธ์ของสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอันได้แก่ เพศ วุฒิทางการศึกษา อาชีพ อายุ รายได้ต่อเดือน อายุการทำงาน ทุนจดทะเบียน และ ประเภทธุรกิจ ที่แตกต่างมีอิทธิพลต่อทัศนคติการตกแต่งบัญชี อันได้แก่ความรู้ความเข้าใจ รูปแบบ มูลเหตุจูงใจ และสัญญาณเตือนภัยในการตกแต่งบัญชี ที่แตกต่างกัน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จำนวน 403 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่า Independent T-Test One Way ANOVA ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ผล
ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า The Positive Accounting Theory สนับสนุน ทัศนคติด้านมูลเหตุจูงใจในการตกแต่งการทำบัญชี ในเรื่องการต้องการลดความเสี่ยงทางด้านการเมืองในกรณีที่กิจการจะเข้าข่ายความสนใจของภาครัฐ สำหรับในมูลเหตุจูงใจในเรื่องนี้ก็เกิดจากการที่ฝ่ายบริหารไม่ต้องการให้มีฝ่ายรัฐเข้ามาสนใจในการดำเนินการของกิจการดังนั้นจึงพยายามหลบรายการทางบัญชีบางรายการเพื่อไม่ให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาตรวจสอบ และเรื่องผลประโยชน์ด้านภาษีอากร ฝ่ายบริหารจะมีการวางแผนทางภาษีในแต่ละปีโดยที่มีการวางแผนเพื่อผลประโยชน์ของธุรกิจ The Selective Financial Misrepresentation Hypothesis และทฤษฎีตัวการตัวแทน (Agency Theory) สนับสนุน ทัศนคติด้านมูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชี ในเรื่องการเกิดจากนโยบายของกิจการ และผลตอบแทนของฝ่ายบริหารผูกติดกับผลการดำเนินงานของกิจการ (กำไร) กล่าวคือฝ่ายบริหารของกิจการมีนโยบายที่ต้องการให้กิจการมีผลกำไรที่สูง หรือตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นของฝ่ายบริหาร