Rate of Adoption of Innovation: Case Study of Factors Correlating to Adoption Rate of SAP in Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
โดย คณิศร ปลูกจิตรสม
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นในการใช้ระบบ SAPของพนักงาน หัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าหน่วยงาน ภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล 2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความเร็วในการยอมรับระบบ SAP และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณลักษณะของระบบกับความเร็วในการยอมรับระบบ SAP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่พนักงานและหัวหน้าภาควิชา/หน่วยงานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบ (IndependentT-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis ANOVA) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis)
จากการศึกษาปัจจัยในการใช้ระบบ SAP พบว่าผู้ใช้เห็นด้วยกับปัจจัย 4 ด้านของระบบ คือด้านผลประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ, ด้านความซับซ้อน, ด้านความสามารถในการได้ทดลองใช้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับอย่างสัมผัสได้
เมื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความเร็วในการยอมรับระบบ SAP พบว่า ระดับการศึกษา และระดับหน้าที่ความรับผิดชอบมีผลต่อความเร็วในการยอมรับระบบ สำหรับปัจจัยด้านคุณลักษณะของระบบ พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะของระบบทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วในการยอมรับระบบ