Promotion and Development of Rungsit Floating Market Management to Tourist Attraction of Pathumthani Province
โดย สุวิกรานต์ จำปา
ปี 2552
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการส่งเสริมและการพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดน้ำรังสิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดปทุมธานี ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มประชากรที่อยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานีและพื้นที่ใกล้เคียง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยจำนวน400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้วิเคาะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic)โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน(Inferential Statistic)ใช้วิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์สถิติแบบ t-test และF-testถ้าพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ25 – 34 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001 – 15,000 บาท จากผลสมมติฐาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ของนักท่องเที่ยวแตกต่างกันมีผลต่อ ปัจจัยด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวแตกต่างทุกด้าน
พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวตลาดน้ำเมืองรังสิตในด้าน ระยะเวลาในการเดินทาง ลักษณะของการเดินทาง ความปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวทุกด้าน ประกอบด้วย การท่องเที่ยวแบบยังยืน ส่งเสริมโครงการ1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว มีมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายมีการเพิ่มรูปแบบการท่องเที่ยวจัดการปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ และสนับสนุนเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว