Decision Making to Purchase OTOP Food Product: Case Study of Pathumthani Province
โดย สรายุทธ์ คงอยู่
ปี 2552
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปประเภทอาหารและปัจจัยสิ่งกระตุ้นทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปประเภทอาหาร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้บริโภคที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์โอทอปประเภทอาหาร ของจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยการสุ่มแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่างที่เคยบริโภคผลิตภัณฑ์โอทอปประเภทอาหารของจังหวัดปทุมธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมาน คือ ไคสแควร์ใช้ทดสอบสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า ผู้ตอบแบบสอลถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงมีอายุระหว่าง 25แต่ไม่ถึง 35 ปี มีสถานะภาพโสด มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน และส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 18,000 แต่ไม่ถึง 24,000 บาทการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งกระตุ้นทางการตลาด พบว่า ในด้านผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานจาก อย.มีความสำคัญในระดับมากที่สุด ด้านราคาการมีป้ายแสดงราคาสินค้าที่ชัดเจน มีความสำคัญในระดับมาก ด้านการจัดจำหน่ายการหาซื้อสินค้าสะดวก มีความสำคัญในระดับมาก และด้านการส่งเสริมการตลาดการมีโปรโมชั่นต่าง ๆ เช่น การลดราคา หรือการแถมสินค้า มีความสำคัญในระดับมาก
DOWNLOAD : Decision Making to Purchase OTOP Food Product: Case Study of Pathumthani Province
Comments are closed.