Customers’ Expectations and Perceptions towards Qualities of Housing Developments of Pruksa Village Sceneries Housing Projects
โดย พรจันทร์ โฉมเฉลา
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมบ้านในโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ ความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมบ้านในโครงการ และแนวโน้มการตัดสินใจซื้อบ้านโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมบ้านกับทางโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ ในพื้นที่รังสิต และบางใหญ่ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด การวิเคราะห์ค่าที (Independent sample t-test)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างแต่ละกลุ่มด้วยวิธีของ Least Significant Difference (LSD) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระกันแบบจับคู่ (Paired sample t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า ลูกค้าที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-35 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และ รายได้ต่อเดือน 50,001 บาทขึ้นไป โดยลูกค้ามีความคาดหวังก่อนเข้าชมบ้านกับทางโครงการมากที่สุด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านลักษณะทางกายภาพ และลูกค้ามีการรับรู้หลังจากเข้าชมบ้านกับทางโครงการมากที่สุด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากร นอกจากนี้ลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมบ้านในโครงการมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อบ้านโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ โดยลูกค้าส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะซื้อบ้านโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ และจะมีการแนะนำบุคคลอื่นให้เข้าเยี่ยมชมแน่นอน
ผลการวิเคราะห์สมมุติฐาน พบว่าลูกค้าที่เข้าเยี่ยมชมบ้านในโครงการพฤกษาวิลเลจซีเนอรี่ส์ ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ จำนวนสมาชิกในครอบครัว อาชีพ และระดับการศึกษา แตกต่างกันมีการรับรู้ต่อคุณภาพบ้านจัดสรรในโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ ไม่แตกต่างกัน แต่ลูกค้าที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีการรับรู้ต่อคุณภาพบ้านจัดสรรในโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การเปรียบเทียบความคาดหวังกับการรับรู้ของลูกค้าต่อคุณภาพบ้านจัดสรรในโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ที่มีต่อคุณภาพบ้านจัดสรรในโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ มีความสัมพันธ์กับ แนวโน้มการตัดสินใจซื้อบ้านในโครงการพฤกษาวิลเลจ ซีเนอรี่ส์ อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The purposes of the study were to look into the personal factors of the customers visiting Pruksa Village Sceneries Housing Projects, to investigate the expectations and perceptions of the customers visiting Pruksa Village Sceneries Housing Projects, and to examine the decision-making tendencies to purchase the houses of Pruksa Village Sceneries Housing Projects.
The sample consisted of 400 customers visiting Pruksa Village Sceneries Housing Projects in Rangsit and Bangyai. The questionnaires were used as a data collection instrument, and the data were analyzed applying Frequency, Percentage, Means, Standard Deviation, Independent sample t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference (LSD), Paired sample t-test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The level of significance was set at 0.05.
The findings indicated that the majority of customers were female, between 31-35 years old, married, graduated with Bachelor’s degree, were employed by private companies, and earned a monthly income more than 50,000 Baht. Before visiting the housing projects, the customers’ expectations were focused on the aspects of product, price and physical appearance. According to the customers’ perceptions after visiting the housing projects, it was found that the perceptions were concentrated on the aspects of distribution channels, market promotion, and personnel. Moreover, most of the customers visiting the housing projects had decision-making tendencies to purchase the houses from Pruksa Village Sceneries Housing Projects, and were certain to inform other persons to visit the projects.
The results of hypothesis test showed that different gender, age, marital status, numbers of family members, occupation, education level caused no difference on the customers’ perceptions towards the qualities of housing developments of Pruksa Village Sceneries Housing Projects. However, different monthly income resulted in the difference on the customers’ perceptions towards the qualities of housing developments of Pruksa Village Sceneries Housing Projects at 0.05 level of significance.
The comparison between the expectations and perceptions of the customers towards the qualities of housing developments of Pruksa Village Sceneries Housing Projects showed a statistical significant difference at 0.05 level. The customers’ perceptions towards the qualities of housing developments of Pruksa Village Sceneries Housing Projects demonstrated a correlation with the decision-making tendencies to purchase the houses of Pruksa Village Sceneries Housing Projects at 0.05 level of significance.