Satisfaction and Behavior of Thai Tourists in Phichit Province
โดย จันทิมา จันทรา
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ ความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาด และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร จำนวน 420 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าที (Independent sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดพิจิตร สรุปได้ว่านักท่องเที่ยวชาวไทยโดยส่วนใหญ่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สอบถามอายุ 21 – 30 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามสถานภาพโสด ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นผู้ตอบแบบสอบถามมีอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้ 30,001 – 40,000 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามมีภูมิลำเนาภาคตะวันตก ความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดการท่องเที่ยว จังหวัดพิจิตร ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการสื่อสารทางการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบุคลากร (บุคลากร, พนักงาน) โดยรวม นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมากของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดพิจิตร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาโดยส่วนใหญ่ท่านเดินทางมาท่องเที่ยวใน จังหวัดพิจิตรเป็นครั้งที่ 1 นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางโดยส่วนใหญ่จะเดินทางมากับครอบครัว โดยส่วนใหญ่จำนวนผู้ร่วมเดินทาง 4 คนนักท่องเที่ยวนิยมโดยส่วนใหญ่ไม่ค้างคืน ในด้านค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 2000 บาท นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางโดย รถยนต์ส่วนตัวมากที่สุดนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมหาข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อ ข้อมูลจากนิตยสารการท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อเป็นการมาพักผ่อน ในด้านความชื่นชอบต่อสถานที่ต่าง ๆ พบว่า นักท่องเที่ยวชื่นชอบ วัดท่าหลวง มากเป็นอันดับ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมาท่องเที่ยว ส่วนใหญ่คือเป็นครอบครัว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่โดยส่วนใหญ่ จะมีการเดินทางมาท่องเที่ยวจะเป็นวัดหยุดนักขัตฤกษ์ในด้านแนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคต นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าจะกลับมาท่องเที่ยวที่อีกแน่นอน ซึ่งหากนักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวซ้ำ และการบอกกับบุคคลอื่นให้มาท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าบอกต่อแน่นอนมากที่สุด
จากผลการวิเคราะห์สมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มี เพศ อายุ รายได้ อาชีพสถานภาพ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มี เพศ อายุ รายได้ อาชีพ สถานภาพ ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ความพึงพอใจต่อส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objective of this independent study was to study Satisfaction and Behavior of Thai Tourists in Phichit Province. The sample was 420 Thai tourists travelling to Pijit. The research instrument was a questionnaire. The descriptive statistics consisted of frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. Also, Pearson Product Moment Correlation Coefficient and one way analysis of variance (One-way ANOVA) were applied to test the hypotheses.
As for the demographic characteristics, the results revealed that most of the samples were male, single, and between 21-30 years. In addition, they finished the Bachelor’s Degree, worked as employees in private companies, lived in West region of Thailand, and their incomes were between 30,001–40,000 baht. As for their satisfaction towards the marketing mix, it was found that the Thai tourists satisfied the overall products, prices, distribution channel, marketing communication, process, physical characteristics, and personnel at the high level. Besides, most of them travelled to Pijit for the first time and they usually travelled with their families. Also, there were approximately four tourists for one group and they usually did not stay overnight. For travelling expense, it was about 2,000 baht for one trip. Most of them also travelled to Pijit by car and they searched information from magazines. Furthermore, they travelled to Pijit for relaxing. For tourist attractions in Pijit, “Tha Luang” temple was the most favorite place among the Thai tourists. The person influencing the decision making to travel to Pijit was a family and they spent a holiday for travelling. For travelling trend in the future, most of them said they will come back to Pijit and tell others to visit this province.
According to the hypothesis testing, it was found that the Thai tourists with different genders, ages, income, occupations, and level of education satisfied the marketing mix differently and significantly at the 0.05 level. Besides, those with different genders, ages, income, occupations, statues, and level of education had travelling behavior differently and significantly at the 0.05 level. In addition, the satisfaction towards the marketing mix was significantly related to the travelling behavior in Pijit at the 0.05 level.
DOWNLOAD : Satisfaction and Behavior of Thai Tourists in Phichit Province