An Assessment of Internal Control System Efficiency: Case study Finance Department’s Royal Thai Armed Forces Headquarters

โดย ปฏัก เมษประสาท

ปี 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายใน กรณีศึกษา : กรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย โดยท าการประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO และทำการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในปี พ.ศ.2552 จำนวนทั้งสิ้น 143 นาย ประกอบด้วย ข้าราชการระดับผู้บริหาร 13 นาย และข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติงาน 130 นาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ข้าราชการระดับผู้บริหารประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 46-50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อัตราเงินเดือนประมาณ 35,001 – 45,000 บาท ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งปัจจุบันส่วนใหญ่ 3 – 4 ปี และ ระยะเวลาการรับราชการโดยประมาณ 5 – 20 ปี ระดับการประเมินประสิทธิภาพระบบการควบคุมภายในของข้าราชการระดับผู้บริหาร กรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ต่อระบบการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO อยู่ในระดับ มาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านการติดตามและประเมินผล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่า ปริมาณ หลักเกณฑ์และวิธีการทำงานมีเพิ่มเติมขึ้นจากเดิมมาก ในขณะที่บุคลากรมีน้อยไป ทำให้ปริมาณงานไม่เหมาะสมและถูกจำกัดด้วยเวลา ในการทำงาน ดังนั้น สิ่งที่เป็นข้อคับข้องใจของกำลังพล และเป็นการทำให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานลดลงโดยมีผลต่อสุขภาพมากขึ้น

ข้าราชการระดับผู้ปฏิบัติงานได้ประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนใหญ่สังกัดกองบัญชี เป็นนายทหารประทวนส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อัตราเงินเดือนประมาณ 8,000 – 13,000 บาท ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งปัจจุบันส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 5 ปี และ ระยะเวลาการรับราชการ ประมาณ 1 -5 ปี การประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายในของกรมการเงินทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน อยู่ในระดับ มาก เมื่อจ าแนกเป็นรายด้าน พบว่า ทำให้เกิดความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง มีการประเมินอยู่ในระดับมาก ส่วนประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการด าเนินงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีข้อเสนอแนะว่า การบริหารงานบุคคลไม่สอดคล้องกับปริมาณงานที่มีอยู่จริง การท างานขาดความรวดเร็ว และไม่มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ความไม่ลงรอยของตัวบุคคลทำให้ยุ่งยากในการติดตามงานนอกสายงาน ระบบการทำงาน ไม่ค่อยมีระเบียบ ข้าราชการมีความรู้ความเข้าใจในระบบงานยังไม่ดี การรับฟังความคิดเห็นของทุกระดับชั้นยศ และระเบียบใหม่ ที่มีผลบังคับใช้ยังมีปัญหา และควรมีการจัดอบรมเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เข้าใจไปในแนวทางเดียวกันในทุก ๆ ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

The research aimed to assess the efficiency of the internal control system of the Finance Department, a unit under the Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF) by using the COSO approach and the regulations of the State Audit Commission of Thailand on internal control standards, B.E. 2544. Data were collected in 2009 through questionnaires submitted by 143 staffs at the RTARF (13 senior executives, and 130 operation officers). Frequencies and percentages were the two primary statistical methods used to analyze the data.

Using the COSO approach to analyze data from the executive-level staffs, the study found most of them were females, aged between 46-50, having either bachelor degrees or equivalents and salaries at 35,001 to 45,000 baht, had been in the present positions for 3-4 years, and with the total span of government service ranging from 5 to 20 years. In general, the executive staffs assessed the efficiency of the internal control system at a high level, especially with regards to environmental control, risk assessment, controlling activities, monitoring and evaluating, and information technology and communication. They raised issues of increasing workload and work-related regulations despite the shortage of staff as contributing to the lower staff morale which in turn affected their health conditions.

The State Audit Commission of Thailand’s Internal Control Standards were used to analyze data for the operation officers’ group. It was found that most of them were female junior military officers attached with the Accounting Division, aged between 41-50, holding bachelor degrees or equivalents and earning salaries worth 8,001 to 13,000 baht. Most of them have been working in their present positions for less than 5 years, with the total years of government service at 1-5. The operation officers also assessed the efficiency of the internal control system at a high level, in particular, the credibility of the financial reports and compliance with the relevant rules and regulations, while the efficacy and effectiveness of the operations were rated at a moderate level. However, they raised problems in personnel management such as inappropriate assignment of work, lack of thorough monitoring, personal conflicts which complicated the follow-up of work outside one’s line of operation, inadequate understanding of the work system among the staff and channels to receive feedbacks from every level of operation. The implementation of new regulations was still considered to be problematic, so training among staff should be undertaken.

 

DOWNLOAD : An Assessment of Internal Control System Efficiency: Case study Finance Department’s Royal Thai Armed Forces Headquarters