The Employee Attitude for e-Office Management System: Acase Study of Government Savings Bank Head Office

โดย เสาวณีย์ ภู่เพ็ชร์

ปี 2552

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของพนักงานผู้ใช้ที่มีต่อระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของพนักงานที่ใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือพนักงานธนาคารออมสินในสำนักงานใหญ่ผู้ใช้ระบบ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ จำนวน 194 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติ Independent Samples t-test, Welch หากพบความแตกต่าง จะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี Dunnett T3, ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม

ผลจากการศึกษาพบว่าผู้ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-35 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 6-10 ปี ปฏิบัติงานในระดับตำแหน่งปฏิบัติการ และเคยเข้ารับอบรมการใช้ระบบ ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความสามารถเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทางสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ มีความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณและระดับความเข้าใจงานสารบรรณอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ผู้ใช้มีทัศนคติต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ด้านการปฏิบัติงาน ด้านประโยชน์ และด้านความปลอดภัย อยู่ในระดับเห็นด้วย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.68, 4.01 และ 4.11 ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับตำแหน่งในองค์กร ที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ไม่แตกต่างกัน

ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กร การอบรมการใช้ระบบ ความสามารถเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทางสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณและระดับความเข้าใจงานสารบรรณที่แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกัน

The purposes of this research were 1) to study the employee attitude on the e-Office management system, 2) to study the factor which affect to the employee attitude on the e-Office management system. The samples of this research were 194 Government Savings Bank employees in head office who had used the system. The statistical analysis were percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test, Welch if found any significance difference it must use the Dunnett T3, and Pearson’s correlation was use for test the relation between independent variables and dependent variables.

From the result found that user who has used the e-Office Management System were mostly female, 31-35 year olds, bachelor degree, working for 6-10 year olds in operating officer and having attended the training program. Most of respondents had ability to use the computer and equipment for e-Office Management System. The level of knowledge about management system and its understating was in high level with average score of 4.02. The user attitude regarding operation, usefulness and security was in the agreed level with average score of 3.68, 4.01 and 4.11, respectively.

The hypothesis analysis revealed that different gender and organizational position have no different attitude on the e-Office Management System. In the other hand, different age, education, working year, training program, management system knowledge and understanding have different attitude on the e-Office Management System.

DOWNLOAD : The Employee Attitude for e-Office Management System: Acase Study of Government Savings Bank Head Office