Employee Satisfaction with Benefits in Automotive Industry Group at Rojana Industrial Estate, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
โดย จิรเดช แต่สิน
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระเรื่องความพึงพอใจในผลตอบแทนของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในผลตอบแทนของพนักงาน และเพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านผลตอบแทนของพนักงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือ พนักงานที่มีตำแหน่งหรืออำนาจหน้าที่น้อยกว่ารองผู้จัดการ จำนวน 373 ตัวอย่างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent t – test, One – way ANOVA และ Least Significant Difference (LSD)
ผลการศึกษาด้านข้อมูลทั่วไปพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20 – 29 ปี มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษามัธยมปลาย หรือ ปวช. มีอายุงานน้อยกว่า 3 ปี อยู่ในฝ่ายการผลิต และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในความพึงพอใจของผลตอบแทนแต่ละด้าน พบว่า เพศที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทน ที่แตกต่าง ในทุกด้าน อายุที่แตกต่างกัน มีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทน ไม่แตกต่างกัน ในทุกด้านสถานภาพที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทนด้านโอกาสความก้าวหน้าค่าจ้าง สิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ที่ไม่แตกต่างกัน มีเพียงด้านความมั่นคงความปลอดภัย ที่ แตกต่างกัน
ระดับการศึกษาที่แตกต่างๆกันมีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทน ด้านความมั่นคงความปลอดภัย โอกาสความก้าวหน้า ค่าจ้าง แตกต่างกัน โดยมีด้านสิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ที่ไม่แตกต่างกัน
อายุงานที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทน ด้านความมั่นคงความปลอดภัย ค่าจ้าง สิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ แตกต่างกัน และมีด้านความมั่นคงความปลอดภัย ที่ไม่แตกต่างกัน
ฝ่ายงานที่รับผิดชอบและปฏิบัติงานมีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทนด้านความมั่นคงความปลอดภัย ค่าจ้าง สิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ แตกต่างกัน และมีด้านโอกาสความก้าวหน้า ที่ไม่แตกต่างกัน
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีผลต่อความพึงพอใจในผลตอบแทนด้านความมั่นคงความปลอดภัยโอกาสความก้าวหน้า และในส่วนที่ไม่แตกต่างคือ ด้านค่าจ้าง สิ่งตอบแทนหรือประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ
The objectives of the individual study on Employee Satisfaction with Benefits in Automotive Industry Group at Rojana Industrial Estate, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province were to investigate the employee satisfaction with benefits, and to examine the basic factors that affected the employee satisfaction with benefits. The samples of the study were 373 employees holding the positions below assistant manager. The questionnaires were used as a data collection instrument, and the data were analyzed through Descriptive Statistics comprising Frequency, Percentage, Means, Standard Deviation, and through Inferential Statistics consisting of Independent t-test, One-Way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD). The study results on general data showed that the majority of respondents were male, 20-29 years old, single, finished high school or vocational education, had less than 3 years of tenure, worked in manufacturing division, and earned average
monthly income not exceeding 10,000 Baht. The hypothesis test on each aspect of satisfaction with benefits, using 0.05 level of significance, demonstrated as follows:
Different genders caused difference in all aspects of satisfaction with benefits. However, different ages caused no difference in all aspects of satisfaction with benefits. Different marital status indicated no difference in satisfaction with benefits in the aspects of advancement opportunity, compensation and fringe benefits, but showed difference in the aspect of security.
Different levels of education led to difference in satisfaction with benefits in the aspects of compensation and fringe benefits, security, advancement opportunity and wages, but caused no difference in the aspect of compensation and fringe benefits.
Different work tenures caused difference in satisfaction with benefits in the aspects of security, wages, compensation and fringe benefits, but caused no difference in the aspect of security.
Different work divisions made difference in satisfaction with benefits in the aspects of security, compensation and fringe benefits, but made no difference in the aspect of advancement opportunity.
Different average monthly income had difference in satisfaction with benefits in the aspects of advancement opportunity, but had no difference in the aspect of compensation and fringe benefits.