Motivation Factors Affecting Work Behavior of Tile Manufacturing Factory Workers in Amphur Nong Khae, Saraburi Province
โดย อุทัยวรรณ เกตุบุญมี
ปี 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต และศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต โรงงานผลิตกระเบื้อง ในเขตอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า ด้านประชากรศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 20 – 25 ปี มีการศึกษา ระดับ ปวส. ทำงานในระดับปฏิบัติการ/เจ้าหน้าที่ มีระยะเวลาการทำงานต่ำกว่า 3 ปี อัตราเงินเดือน 8,001 – 14,000 บาท และทำงานอยู่ในแผนกเตา ด้านแรงจูงใจในการทำงาน พบว่ามีระดับแรงจูงใจในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านสภาพในการทำงาน ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ด้านการยอมรับนับถือ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านโอกาสในการก้าวหน้า และด้านพฤติกรรมการทำงาน พบว่ามีระดับพฤติกรรมการทำงานการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
สำหรับแรงจูงใจในการทำงานพบว่า เพศชายและหญิง มีแรงจูงใจในการทำงาน และพฤติกรรมการทำงานในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่งงาน ที่แตกต่างกันไม่ทำให้พฤติกรรมการทำงานแตกต่างกัน และพบว่าอายุ และระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้พฤติกรรมการทำงานด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แตกต่างกัน พนักงานที่มีอายุ และระยะเวลาการทำงานน้อยจะมีพฤติกรรมการทำงานด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ดีกว่า จึงควรให้การสนับสนุนด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ให้กับพนักงานที่มีอายุมาก และทำงานมานาน และพบว่าระดับตำแหน่งงานและระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้แรงจูงใจในการทำงานด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลแตกต่างกัน โดยพนักงานระดับปฏิบัติการ และพนักงานที่มีระยะเวลาการทำงานน้อยจะมีแรงจูงใจในการทำงานด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมากกว่า ซึ่งการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาจะช่วยรักษาพนักงานให้คงอยู่ได้ ระยะเวลาการทำงานที่แตกต่างกัน ทำให้แรงจูงใจในการทำงานด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการแตกต่างกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการวางแผนบริหารค่าตอบแทนต่อไป และยังพบว่าแรงจูงใจใการทำงานของพนักงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงานแต่ละด้านในทิศทางเดียวกัน จึงเป็นประโยชน์ต่อองค์การในการสร้างกลยุทธ์การบริหารแรงจูงใจในแต่ละด้าน เพื่อเป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมการทำงานที่ดีขึ้นตามไปด้วย
The study aimed to examine the demographic factors affecting the work behavior and the work motivation of the production operators, and to investigate the motivation factors affecting the work behavior of the production operators in the tile manufacturing factories in Amphur Nong Khae, Saraburi Province. The data were analyzed from the questionnaires collected from the sample which consisted of 400 respondents.
As regards the demographic factors, the study showed that most of the respondents were male of 20-25 years old, graduated in the Certificate of Higher Vocational Education level, held the positions of operator/officer levels, earned a monthly income of 8,000-14,000 Bath, worked in the brick kiln section. Regarding the work motivation, the study showed that the work motivation as a whole was at a high level, and could be arranged in order from high level to low level as follows : the work conditions, the relationships among colleagues, the recognition, the fringe benefit and welfare, and the promotion opportunity. Concerning the work behavior, it was found that the work behavior as a whole was at a moderate level.
Concerning work motivation, the study demonstrated that work motivation and work behavior of male and female were not different. Difference of education level, work position caused no difference in work behavior. It was found that difference of age, and work tenure caused difference in work behavior in term of initiative. The study showed that more initiative would go with young personnel having short tenure. The promotion of work initiative should be provided to the personnel with long tenure. The study was also found that difference of work position and work tenure caused difference in work motivation in term of interpersonal relationship. The works operators and personnel with short tenure had more work motivation and interpersonal relationship, thus good relationship between personnel and superiors could help motivate the personnel to work with the organization. The difference of work tenure caused difference in work motivation on compensation and welfare, and this could be considered for the planning of compensation and welfare management. The finding was also revealed that personnel work motivation had a positive relationship with work behavior for each type of job. This finding could be considered for management strategy for the organization which would lead to better work behavior.