Study and research for the increase of management of OTOP product in village Thanyaburi, Pathumthani province

โดย วันทนีย์ นำชัยศรีค้า

ปี     2550

บทคัดย่อ

การศึกษาและวิจัยเพิ่มศักยภาพการบริหารการจัดการกลุ่มชุมชน OTOP อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงศักยภาพของการบริหารการจัดการในด้านตังผลิตภัณฑ์ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านบริหารเงินทุน และด้านบริหารองค์การ และศึกษาถึงความต้องการเพิ่มศักยภาพของชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชน OTOP อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสอบถามข้อมูลการบริหารจัดการของชุมชนจำนวน 34 กลุ่ม มีผู้ตอบแบบสอบถาม 41 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ตัวผลิตภัณฑ์ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านบริหารเงินทุน และด้านบริหารองค์กร มีจุดแข็งคือ ตัวผลิตภัณฑ์สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ รูปแบบมีการพัฒนาอยูตลอดเวลา และคุณภาพของผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานในระดับดี แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานในชุมชน มีการควบคุมกระบวนการผลิตที่ดี มีการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการดำเนินงานของชุมชน มีการลงบัญชีรับ – จ่าย จุดอ่อนคือวัตถุดิบที่ใช้ในพื้นที่ยังไม่เต็ม 100 % สถานที่การวางจำหน่ายส่วนใหญ่อยู่ภายในจังหวัด ไม่ค่อยมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ ยังไม่มีการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนในการผลิต การบริหารเงินออมยังน้อยอยู่ และการวิจัยได้พบว่า การเพิ่มศักยภาพ โดยการจัดอบรมของหน่วยงานจะมีผลต่อการพัฒนาด้านการบริหารจัดการอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะ ภาครัฐที่จะเข้าช่วยเหลือหรือให้การสนับสนุน ควรจะให้ความช่วยเหลือชุมชนโดยเฉพาะด้านการจัดหาเงินทุน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต และสำหรับเรื่องการจัดอบรมหรือฝึกวิชาชีพ ควรเข้าไปศึกษาความต้องการของชุมชนก่อน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการจัดฝึกอบรม และชุมชนสามารถนำไปต่อยอดการผลิตสินค้า การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้ชุมชนยืนหยัด และเข้มแข็งต่อไป

The purposes of this research were to study the potential of their marketing management, manufacturing management, organization management and financial and accounting management and to study the need to increase its potential in order to manage and promote OTOP product. There were 41 populations consisted of local people from 34 groups. Questionnaries were used to collect data and analyzed for its percentage, mean, and standard deviation. The results were as follow : 1. Strength : The product had been improved using local wisdom, its quality had met the standard, labors were from local people, its manufacture was well-controlled, and the people had determined their visions and missions. 2. Weakness : The resource hadn’t fully managed, the product was distributed only within the province, thee people were lack of application of new technology, they were unable to reduce the cost of manufacturing, and they also had poor saving control. 3. In order to increase their potential, trainings had significant meaning toward their administrative management skill. It was recommended for the government to support the village by offering cash capital and loan bank and providing education on new technology adoption. Also, the government should study the needs of local people before establishing any training so that the village could actually put it into actions.

DOWNLOAD : Study and research for the increase of management of OTOP product in village Thanyaburi, Pathumthani province