The Development of Sustentation by Sufficiency Economy Model of People in Pathum-thani Province
โดย จิรศักดิ์ สุรังคพิพรรธน์, เขมมารี รักษ์ชูชีพ
ปี 2550
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี นี้มีวัตถุประสงค์ 1)พัฒนารูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชน จังหวัดปทุมธานี 2)ประเมินการใช้รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัยกระทำโดย (1)ใช้เทคนิคการวิจัย EDFR ในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างมีเศรษฐกิจพอเพียงดังกล่าว (2)นำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดขึ้น และ (3)มีการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นผู้ใช้รูปแบบนี้ด้วย ผลการวิจัยปรากฏว่าได้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบรวม 7 ด้าน โดยรายการตัวบ่งชี้ที่ใช้ประเมิน 82 รายการ และได้คู่มือการใช้รูปแบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญคือ ลักษณะทั่วไปของรูปแบบ และเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ให้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริหารราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
The purpose of this study was 1)to develop model of sustentation by sufficiency economy model of people in Pathum-thani province by setting factors and constructing manual 2)to appraise the model by determining criteria which provided useful information for decision making by regional and local public administrators, The study procedures were divided into three steps : (1)using EDFR research technique by collecting judgement of the experts for setting the model (2) trying-out for testing the model with the given samples. (3)assessing the model by the experts who are also use this model It was found that the model was composed of 7 aspects 82 items of indicators to be evaluated and the manual was composed of the general characteristic of the model and the tool for recording data. The assessment of the model by the experts showed that model provided useful information for decision making of the regional and local public administrators.