การศึกษาผลของยาต้านเชื้อมาลาเรียที่มีต่อ β-Hematin ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

โดย ศรีวไล โอมอภิญญาณ, เสาวภาค สุขตระกูลเวศ, จุไรรัตน์ ดวงเดือน, วณิภา นาคลดา

ปี     (2551)

บทคัดย่อ

การศึกษาปฏิกิริยาของยาต้านเชื้อมาลาเรียโดยใช้ β- Hematin สังเคราะห์แทน Hemozion ซึ่งเป็นสารพิษ (malaria pigment) ที่เกิดจากากรเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดงเมื่อคนรับเชื้อจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ทั้งนี้เนื่องจาก β- Hematin สังเคราะห์มีโครงสร้างเป็น dimer เหมือนกับ Hemozoin โดยใช้ ต่อ β- Hematin ที่สังเคราะห์จาก Hemin โดยวิธี Acidification และจาก Hematin โดยวิธี Dehydrohalogenatio ได้ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 78 และ 84 ตามลำดับ และใช้ยาต้านเชื้อมาลาเรียดังนี้ Quinine Chloroquine Primaquine และ Mefloquine จากผลของการตรวจหมู่ฟังก์ชันพบว่า β- Hematin สังเคราะห์ แสดงโครงสร้างการสั่นของหมู่ฟังก์ชันที่เป็นลักษณะเฉพาะเหมือนกับ Hemozoin โดยแสดงแถบเลขคลื่นที่บ่งบอกการติดเชื้อมาลาเรียที่สำคัญในอินฟราเรดสเปกตรัม ดังนี้ vH-bond (Propionate linkage)vc=o และvc-o ที่ 1711(s) 1665(s) และ 1210(m) cm-1 ตามลำดับ และในรามานสเปกตรัมที่แถบเลขคลื่นดังนี้ v(Ca-Cm) v(Cb-Cb) v(Pyr.half-ring)sym δCm-H (methine) และ vPyr.breatingที่ 1632(m) 1551(m) 1375(w) และ 753(w) cm-1 ตามลำดับ และปรากฎแถบการสั่นของ v(Fe-O)ที่ 354(w-m)cm-1พบว่าการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาต้านเชื้อมาลาเรียกับ β- Hematin 15 มิลลิกรัม ที่อุณหภูมิ 38℃ ค่า pH 4-5 โดยแปรช่วงเวลา 1 2 3 และ 6 ชั่วโมงปริมาณของยาจะลดลงอย่างรวดเร็วในชั่วโมงแรกของการทดลองและมีรูปแบบของการลดลงของสารออกฤทธิ์แบบ Exponential Decay และผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังทำปฏิกิริยาไม่แสดงแถบเลขคลื่นของโครงสร้างการสั่นของโมเลกุลที่แสดงว่ามีการติดเชื้อทั้งในอินฟราเรดและรามานสเปกตรัมที่เลขคลื่น 1712 1664 และ 1207 cm-1ตามลำดับ

DOWNLOAD : การศึกษาผลของยาต้านเชื้อมาลาเรียที่มีต่อ β-Hematin ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ