Usage Behaviors of Online Social Network of Undergraduate Students, Rajamangala University of Technology

โดย ขวัญวิทย์ ตาน้อย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับปริญญา ตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดยการวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จ านวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 19 – 22 ปี อยู่ชั้นปีการศึกษาที่ 4 หรือมากกว่า มีรายได้ต่อเดือน (จากผู้ปกครอง) เท่ากับ 8,001 -10,000 บาท พักอาศัยที่หอพัก ในด้านจุดประสงค์การเข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์พบว่า ด้านเพื่อรับรู้ข่าวสาร ความรู้ ด้านเพื่อความพอใจ เพื่อประสบการณ์ทางอารมณ์ เพื่อความเชื่อถือ ความมั่นใจ ความมั่นคง และสถานภาพ และด้านเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ มีจุดประสงค์การเข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับระดับปานกลาง พฤติกรรมในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นสมาชิก Facebook ใช้บริการ 7 วันต่อสัปดาห์ กิจกรรมที่ท า ใช้อัพเดตสถานะ / ข้อมูลส่วนตัว / รูปภาพ และใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในการเข้าใช้บริการ

The study entitle “Usage Behaviors of Online Social Network of Undergraduate Students, Rajamangala University of Technology” aimed to study the usage behavior pattern of online social network and motivation factors on the usage of online social network of undergraduate students, Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

This research used questionnaires as the research tool to collect data. The sample group were 400 undergraduate students of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Data were analyzed by Descriptive Statistics to primarily describe sample data, and Inferential Statistics to test hypotheses.

The study results found that most of the sample group were females, 19-22 years old, senior level or higher, 8,001-10,000 Baht of income (from parent) and staying in the dormitory. On the purposes of the usage of online social network, the results found that information awareness aspect was knowledge, satisfaction aspect were emotional experience, reliabity, confidence, and status, and relationship aspect was connection. The purposes of the usage of online social network was in the medium level. Usage behavior of online social network found that most of the respondents were Facebook members, used the service 7 days per week, usage activities were update status/personal information/pictures, and used the services through desktop computers.

DOWNLOAD : พฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี