Air conditioning system for two-seated electric vehicle
โดย เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ, สุเทพ วัชราเรืองวิทย์, ปรัชญา เปรมปราณีรัตน์, ปรีชา แหวนเพชร
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
โครงการวิจัยนี้ได้ถูกจัดทำขึ้น เพื่อทำการศึกษาและพัฒนาระบบปรับอากาศที่ใช้ในรถไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยโครงสร้างรถไฟฟ้าที่ออกแบบได้มีขนาดห้อง โดยสารประมาณ 2.5 ลูกบาศก์เมตร โครงสร้างของห้องโดยสารถูกสร้างขึ้นมาจากแผ่นอลูมิเนียมและมีการหุ้มฉนวนที่ความหนา 1 นิ้ว การออกแบบระบบปรับอากาศจะคำนึงถึงภาระโหลดความร้อนจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ผ่านผนัง พื้นหรือเพดาน ความร้อนจากผู้โดยสาร และความร้อนจากอากาศภายนอกที่แทรกซึมเข้ามาภายในห้อง ในการคำนวณหาภาระโหลดของรถไฟฟ้าจะอาศัยหลักการเดียวกับการหาภาระโหลดของตัวอาคาร ซึ่งโหลดความร้อนสูงสุดที่ได้จากการคำนวณที่มีค่าเท่ากับ 1,972 วัตต์ ดังนั้นจึงเลือกใช้คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบที่มีขนาดของการทำความเย็นเท่ากับ 3.18 kW โดยใช้ไฟฟ้ากระแสหลับ 220 โวลต์ ซึ่งกินกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 3.2 แอมแปร์ และสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์เป็นแบบ R-22 การทดลองนั้นจะกระทำทั้งในสภาวะที่อยู่กลางแดดและในที่ร่ม ในสภาวะกลางแดดมีทั้งแบบมีม่านและไม่มีม่านบังแดด อุณหภูมิที่วัดได้ต่ำสุดขณะอยู่กลางแดด 25 องศาเซลเซียส หลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 24 นาที และในสภาวะที่อยู่ในร่มอุณหภูมิที่วัดได้ต่ำสุด 22 องศาเซลเซียสภายในเวลาเท่ากัน นอกจากนี้ยังพบว่าระบบปรับอากาศทำอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 25-27 องศาเซลเซียส
DOWNLOAD : Air conditioning system for two-seated electric vehicle