A study and design of shading devices and opening in accordance with natural ventilation for residential suits in Bangkok
โดย วรากร สงวนทรัพย์
ปี (2552)
บทคัดย่อ (Abstract)
จากการศึกษาอาคารตัวอย่างประเภทอาคารพักอาศัยประเภทห้องชุดจำนวน 11 โครงการ พบว่า อาคารพักอาศัยประเภทห้องชุดส่วนใหญ่มีการออกแบบช่องเปิดเพียงด้านเดียวและมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในห้องพักทำให้พื้นที่ภายในห้องชุดไม่สามารถเกิดการระบายอากาศบริเวณด้านหลังได้ดีพอ อีกทั้งปัจจัยอื่นๆ เช่น การใช้รูปแบบและตำแหน่งช่องเปิดที่ไม่เหมาะสม การวางตัวอาคาร รูปแบบการสัญจรภายในอาคาร ซึ่งงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาเฉพาะส่วนที่พักอาศัยเท่านั้น
จากผลการศึกษาตำแหน่งช่องเปิดที่สัมพันธ์กับทิศทางกระแสลมจะทำให้การระบายอากาศภายในอาคารได้ดี โดยให้กกระแสลมสัมพันธ์กับระดับร่างกาย (Body Zone)และระดับเหนือร่างการเพื่อระบาความร้อนที่ระดับฝ้าเพดาน โดยมีตำแหน่งช่องเปิดและชนิดช่องเปิดดังนี้ 1. ตำแหน่งช่องลมเข้าอยู่ระดับ M เป็นหน้าต่างชนิดบานเปิด และ H เป็นหน้าต่างบานเกล็ดชนิดปรับมุมได้ 2. ตำแหน่งช่องเปิดที่ผนังกั้นพื้นที่ ตำแหน่ง H ลักษณะบานเป็นบานเกล็ดมุมขึ้น และ 3. ตำแหน่งช่องลมออกอยู่ระดับ L เป็นหน้าต่างกระทุ้ง และ M เป็นหน้าต่างชนิดบานเปิด โดยการออกแบบอุปกรณ์บังแดด ทิศใต้ วันที่ 22 ธค (Winter Solstice) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อ้อมใต้มากที่สุด มุมที่ใช้ในการออกแบบ 47 องศา ลักษณะอุปกรณ์บังแดดเป็น แบบ Horizontal Overhang ตรง 2 ส่วน มีช่องว่างระหว่างอาคาร และ Vertical Louvers 2 ด้าน มีระยะยื่น 1.00 เมตร สามารถป้องกันแดดในช่วงเวลา 10.00-14.00 น. และอุปกรณ์บังแดดทิศเหนือ 21 มิ.ย (Summer Solstice) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์อ้อมเหนือมากที่สุด มุมที่ใช้ในการออกแบบ 61.2 องศา ลักษณะอุปกรณ์บังแดดเป็น Horizontal Overhang ตรง 1 ส่วน มีช่องว่างระหว่างอาคาร และ Vertical Louvers 2 ด้าน มีระยะยื่น 1.00 เมตร สามารถป้องกันแดดในช่วงเวลา 8.00 – 16.00 น.
การออกแบบอุปกรณ์บังแดดที่สัมพันธ์กับตำแหน่งช่องเปิดสามารถช่วยกระแสลมไหลเวียนภายในห้องพักดีขึ้นประมาณ 31% และสามารถป้องกันแสงแดดไม่ให้เข้าสู่ตัวอาคารได้ดีกว่าห้องพักที่ไม่มีการออกแบบตำแหน่งช่องเปิดและอุปกรณ์บังแดด ซึ่งกระแสลมไหลเวียนภายในห้องพักประมาณ 29% ซึ่งทำให้สามารถลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศและลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้