การศึกษาศักยภาพของข่าเพื่อประโยชน์ทางการเกษตรและแปรรูปอาหาร = Study the potential of Alpinia sp. for agricultural and food utilization
โครงการย่อยที่ 1 การใช้ประโยชน์จากข่า[Alpinia sp.] เพื่อควบคุมแมลงศัตรูคะน้า = Utilization of alpinia sp. for controlling chinese kale insect pests.
โดย อัญชลี สวาสดิ์ธรรม,ไฉน น้อยแสง
ปี 2547
บทคัดย่อ
1. การศึกษาเปรียบเทียบผลของสารสกัดจากเหง้าข่า (Alpinia galangal L.) ด้วยน้ำกลั่น (volatile oil) และในตัวทำลายแต่ละชนิดประกอบด้วย methanol, ethyl acetate และ n-hexanc ที่ ระดับความเข้มข้น 1, 0.7 และ 0.5% โดยมีสิ่งทดลองควบคุมคือ แอลกอฮอล์ 70% แอลกอฮอล์ 80% แอลกอฮอล์ 90 % และน้ำกลั่นต่อหนอนกระทู้ผักวัยที่ 3 และหนอนในผักวันที่ 2 ที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ผลของสารสกัดต่อหนอนกระทู้ผักภายหลังได้รับสาร 24 ชั่วโมง พบว่า สารสกัดจากข่าด้วยน้ำกลั่น (volatile oil) ที่ระดับความเข้มข้น 1% มีผลทำให้หนอนกระทู้ผักรอดตายน้อยที่สุดเฉลี่ย 11.50 รองลงมาคือ สารสกัดจากข่าด้วย ethyl acetate ที่ระดับความเข้มข้น 1% มีผลทำให้หนอนกระทู้ผักรอดเฉลี่ย 18.25 ตัว สำหรับสิ่งทอดลองอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับสิ่งทดลองเปรียบเทียบ ผลของสารสกัดต่อหนอนใยผักวันที่ 2 ภายหลังได้รับสาร 24 ชั่วโมง พบว่า สิ่งทดลองสาร volatile oil 1% มีจำนวนหนอนที่รอดตายน้อยที่สุด คือ 10.25 รองลงมาคือ สิ่งทดลองสาร volatile oil ที่ระดับความเข้มข้น 0.7% และ 0.5% ส่วนการทดลองอื่นๆ ทำให้หนอนรอดตายภายในปริมาณใกล้เคียงกัน
2. การศึกษาผลของสารสกัดหยาบของข่า ผลการเปรียบเทียบสารสกัดหยาบ ด้วยแอลกอฮอล์ 80% จากข่า 3 แหล่ง คือ จังหวัดตราด จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดชัยภูมิ ที่ระดับความเข้มข้น 25 % และ 50% โดยมีน้ำกลั่นและแอลกอฮอล์ 80% เป็นสิ่งทดลองควบคุมต่อหนอนกระทู้ผักภายหลังการรับสาร 24, 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่า สารสกัดหยาบข่าจาก จังหวัดตราด ที่ระดับความเข้มข้น 50% ทำให้หนอนกระทู้ผักรอดน้อยที่สุด และ แตกต่างทางสถิติกับสิ่งทดลองอื่น ๆ ผลของสารสกัดหยาบข่า ที่ระดับความเข้มข้น 10 15 20 โดยมีสิ่งทดลองควบคุมคือแอลกอฮอล์ 80 และน้ำกลั่นต่อหนอนใยผักที่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ภายหลังได้รับสาร พบว่าสารสกัดหยาบข่าที่ความเข้มข้น 15 และ 20 ทำให้หนอนใยผักรอดตายน้อยที่สุด และทั้งสองสิ่งทดลองแตกต่างทางสถิติสิ่งทดลองอื่น ๆ
1. Comparative effects of four extracting solutions from the rhizome of great galangal (Alpinia galangal L.) which were extracted by distilled water, methanol, ethyl acetate and n-hexane at different concentrations ( 1, 0.7 and 0.5% respectively). The distilled water and ethyl alcohol ( 70, 80 and 90%) were used as the control. The study was investigated by counting the dead Spodotera litula and Plutella xylostella larvae affer applied extracted solutions 24, 48 and 72 hours. The experiment with S.litura larvae at 24 hours after application showed statistical differences among number of survival larvae. Volatile oil at 1% and ethyl acetate at 1% gave the highest mortality ( 11.50 and 18.25 survival larvae respectively). There was statistical difference between the rest treatments and control. The experiment with P. xylostlla larrae at 24 hours after application showed the highest mortality from volatile 1, 0.7 and lostella 0.5% respectively.
2. Effects of Crude extract solution of Alpinia sp. Effects of crude extract with 80% alcohol of grcat galangal from Trat, PathumThani and Chiyaphum Provinces were tested with common cutworm larvae at 25 and 50% concentration. Disilled water and alcohol 80% were used as control. The galangal crude extract from Trat at 50% concentration gave the highest mortality Galangal crude extracts at 10, 15 and 20% concentration were tested with diamond back moth larvae. The results revealed the highest insecticide activifties from 15 and 20% concentration. Both treatments showed statistical differences of survival larvae from others.
DOWNLOAD : Study the potential of Alpinia sp. for agricultural and food utilization