Psycho – Social Correlation of Buddhist Tourism Behavior

โดย ณัฐพงษ์ สีบุญเรือง, สุวิมล แม้นจริง, ภราดัย ไชยนุวัต

ปี     2552

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงเหตุที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยมีจุดประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาว่าลักษณะสถานการณ์และจิตลักษณะด้านต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของนักศึกษาหรือไม่ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาของนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน 400 คนจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพและปริมณฑล ผลการศึกษาที่สำคัญมี 3 ประการ คือ
ประการแรก พบว่า นักศึกษาที่อยู่ในสถานการณ์ใดใน 3 ด้านที่เหมาะมากต่อไปนี้คือ ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนใช้เหตุผลมาก หรือบิดามารดาเป็นแบบอย่างมากหรือได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามาก หรือได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากกว่านักศึกษาประเภทตรงข้ามและกลุ่มย่อย
ประการที่2 นักศึกษาที่มีจิตลักษณะแต่ละด้านใน 3 ด้านคือ มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากหรือมีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากหรือมีเหตุผลเชิงจริยธรรมสูง เป็นผู้มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากหรือมีเหตุผลเชิงจริยธรรมสูง เป็นผู้มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามากกว่านักศึกษาประเภทตรงข้ามพบในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย
ประการที่3 พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษาแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สมใจ กลุ่มผู้สมหวัง กลุ่มผู้ประสบความสำเร็จ กลุ่มผู้ชอบทดลอง กลุ่มผู้มีความเชื่อมั่น กลุ่มที่ต้องดิ้นรน กลุ่มผู้มุ่งปฏิบัติ กลุ่มผู้ลำเค็ญ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนามีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษา

DOWNLOAD : Psycho – Social Correlation of Buddhist Tourism Behavior