Supplementatin of flake bread to tubin (oreochromis niloticus) reared in cage culture system
โดย สมิง จำปาศรี, นลินรัตน์ แก้วศรีงาม, เดชา นาวานุเคราะห์, สมกิจ อนะวัชกุล
ปี 2550
บทคัดย่อ
การเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังของเกษตรกร ประสบปัญหาเรื่องต้นทุนค่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปมีราคาสูง ทำให้ได้ กำไรน้อย การวิจัยครั้งนี้จึงศึกษาหาระดับที่เหมาะสมของใช้เศษขนมปังเสริมอาหารเม็ดสำเร็จรูป เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเป็นแนวทางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ซึ่งใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเสริมด้วยเศษขนมปังอัตราร้อยละ 0, 25, 50, 75 และ100 เมื่อเลี้ยงปลาครบ 18 สัปดาห์ พบว่าปลาทับทิมในกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยสูงสุด 393.47± 11.93 และ 367.84 ±28.59 กรัมต่อตัว โดยกลุ่มทดลองที่ 5 มีน้ำหนักเพิ่มต่อตัวน้อยที่สุด 132.80±8.90 กรัมต่อตัว (p<0.05) ในทำนองเดียวกันปลาทับทิมในกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำสุด 1.26±0.10 และ 1.27±0.03 และปลาในกลุ่มทดลองที่ 5 มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อสูงสุด คือ 1.84±0.12 (p<0.05) ส่วนอัตรารอดตายของทุกปลากลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ(p<0.05) ด้านต้นทุนการผลิตพบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 มีต้นทุนการผลิตสูงสุดคือ 3,656.25±44.18 บาทต่อกระชัง และต้นทุนลดลงตามการเพิ่มปริมาณเศษขนมปังที่ใช้ผสมอาหาร เมื่อคำนวณกำไรสุทธิต่อกระชังพบว่า กลุ่มทดลองที่ 1, 2 และ3 มีกำไรไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)คือ 684.90±308.04, 744.49±192.21 และ 656.80±337.25 บาทต่อกระชัง ตามลำดับ ส่วนกลุ่มทดลองที่ 5 ขาดทุน 165.58±90.21 บาทต่อกระชัง (p<0.05) ฉะนั้น ในการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังควรใช้เศษขนมปังเสริมอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ระดับร้อยละ 25 สามารถลดต้นทุนการผลิต ทำให้ได้ผลกำไรสูงสุด เมื่อนำผลการทดลองไปถ่ายทอดให้เกษตรกร พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจด้านเนื้อหาสาระของการฝึกอบรม อยู่ในระดับดี และดีมาก คิดเป็นร้อยละ 73.2 และ 23.2 ตามลำดับ