High-rise Technology Model
โดย เกษียร ธรานนท์
ปี 2551
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำสื่อจำลองเทคโนโลยีประกอบอาคารสูง สำหรับใช้ประกอบการสอนในวิชาการออกแบบและเขียนแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งจะมีประโยชน์ช่วยเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจดีมากขึ้นเมื่อได้เห็นสื่อจำลองเทคโนโลยีที่รวมงานระบบต่าง ๆ ทั้งหมดอยู่ภายในอาคารสูง วิธีดำเนินการวิจัยในขั้นแรกได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเทคโนโลยีงานระบบต่าง ๆ ที่ประกอบในอาคารสูงได้แก่ ระบบสุขาภิบาล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบดับเพลิง และระบบขนส่งแนวดิ่ง ต่อจากนั้นได้กำหนดแนวความคิดในการจัดทำสื่อจำลอง โดยให้มีความสอดคล้องตามเนื้อหาในหลักสูตร เลือกประเภทอาคาร ได้แก่ อาคารสำนักงาน ความสูง 8 ชั้น เพื่อนำมาทำเป็นสื่อจำลอง มาตราส่วน 1:50 ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสม นักศึกษาสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ ขั้นตอนต่อไปดำเนินการออกแบบและเขียนแบบอาคาร ซึ่งประกอบด้วยแปลนทุกชั้น รูปด้าน 4 รูป และรูปตัด 2 รูป มาตราส่วน 1:250 เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการทำสื่อจำลอง เมื่อทำสื่อจำลองเสร็จเรียบร้อย นำไปใช้ประกอบการสอน เพื่อประเมินผลระดับความเข้าใจของนักศึกษา กลุ่มนักศึกษาที่ใช้ทดสอบเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3-5 สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมภาคปกติและภาคสมทบ รวมจำนวนทั้งหมด 93 คน หัวข้อที่สอบถามแบ่งออกเป็น 6 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ ลิฟต์ บันไดเลื่อน ระบบสุขาภิบาล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และเครื่องอักความดัน กำหนดให้ค่าคะแนน 5 = ดีมาก 4 = ดี 3 = ปานกลาง 2 = น้อย 1 = น้อยมาก ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยรวมของงานระบบทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 4.003 แสดงว่าสื่อจำลองดังกล่าว มีประโยชน์สามารถใช้ประกอบการสอน เพื่อช่วยเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจดีมากขึ้น ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกประการ
The objective of this research is to make high-rise technology model as teaching media in Architectural Design and Drawing course. This will help students understand high-rise technology easily. Basic data about high-rise technology system i.e. sanitation system, electrical system, air conditioning system, fire protection system and vertical transportation system were firstly studied. Then the concept of the model was identified corresponding to course content. The 8-floor office building of 1:50 scale was selected as model due to its ease of visibility, mobile and storage. Designing and drawing were carried out including all floor plans, 4 side views and 2 section views of 1:250 scale for modeling. The model was used as teaching media and then 93, 3rd – 5th year of Architectural Technology program student’s understanding was evaluated. 6 items were categorized as lift, escalator, sanitation system, electrical system, air conditioning system and compressor. Marking was specified as following : 5 = very good, 4 = good, 3 = fair, 2 = poor and 1 = very poor. The result showed that the mean of all system was 4.003 meaning that the model was applicable as teaching media according to the objective of the research.