โดย ศุภชัย กฤตสุทธาชีวะ, สัจจะชาญ พรัดมะลิ และอภิรัฐ ปิ่นทอง

ปี 2550

บทคัดย่อ

ในการศึกษาครั้งนี้ ได้จัดทำโค้งอัตราการไหล-ช่วงเวลาเชิงภูมิภาค สำหรับลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก วิธีการประกอบด้วยการคัดเลือกสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 13 สถานี มีความยาวข้อมูลอัตราการไหลรายวันไม่ต่ำกว่า 10 ปี ขนาดพื้นที่รับน้ำอยู่ระหว่าง 41 ถึง 1,280 ตารางกิโลเมตร มาทำการวิเคราะห์สร้างโค้งอัตราการไหล-ช่วงเวลา และโค้งอัตราการไหล-ช่วงเวลาไร้มิติ (Q/Q[subscript mean] กับ T/T[subscript max])

ในการวิเคราะห์เชิงภูมิภาคได้แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม ที่มีความคล้ายคลึงเชิงอุทกวิทยา ในแต่ละกลุ่มได้สร้างโค้งอัตราการไหล-ช่วงเวลาไร้มิติและโมเดลนอนลิเนียร์ที่เป็นตัวแทน และได้เสนอสมการความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่าง Q[subscript mean] และ T[subscript max]  กับตัวแปรทางกายภาพลุ่มน้ำ (A, L, L[subscript c] และ S) ซึ่งสามารถนำมาใช้งานร่วมกันในการประเมินหาโค้งอัตราการไหล-ช่วงเวลาที่จุดใดๆ ในพื้นที่ศึกษา

DOWNLOAD : โค้งอัตราการไหล-ช่วงเวลาเชิงภูมิภาคสำหรับลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก