Study and design of sewing machine for handicap users

โดย ธีระพงษ์ ไชยเฉลิมวงศ์ และกฤษณ์ พุ่มเฟือง

ปี 2550

บทคัดย่อ

โดยทั่วไปโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะไม่ค่อยจ้างคนพิการทำงาน เนื่องจากขาดสภาพคล่องในการทำงานและไม่มีอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่เอื้ออำนวยต่อคนพิการที่จะสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ซึ่งคนพิการส่วนใหญ่ ที่พบจะเป็นคนพิการทางด้านขา เช่น โปลิโอ ขาลีบ ขาขาด คณะผู้วิจัยจึงเกิดแนวความคิดและสร้างอุปกรณ์ ช่วยสำหรับจักรเย็บผ้าเข็มเดี่ยวอุตสาหกรรมสำหรับคนพิการขึ้น เพื่อให้มีความเหมาะสมตามลักษณะความพิการและทำให้คนพิการสามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้น มีรายได้หาเลี้ยงชีพได้เหมือนคนปกติทั่วไป โดยลักษณะของจักรเย็บผ้าเข็มเดี่ยวอุตสาหกรรมสำหรับคนพิการที่จัดทำข้นนั้นจะมีกลไกทำงานอยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ การใช้มือ และการใช้ท่อนขาในการออกแรงเย็บเพื่อที่จะให้จักรเย็บผ้าทำงานได้ จากการทดลองการปฏิบัติงานและทดลองใช้จักรเย็บผ้าเข็มเดี่ยวอุตสาหกรรมสำหรับคนพิการภายในแผนกเย็บเสื้อศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผลปรากฎว่าอุปกรณ์ทั้ง 2 รูปแบบ คือชุดการใช้ท่อนขาและใช้มือในการออกแรงเย็บตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ คือสามารถใช้เย็บผ้าได้จริงและหยุดการเดินของเข็มได้ทันทีเมื่อต้องการหยุดจักรโดยไม่ต้องออกแรงมากในการกดคันบังคับทั้งใช้ท่อนขาและมือในการช่วยเย็บ และมีที่วางเท้าที่เหมาะสมกับคนพิการขาขาด สำหรับประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบและสร้างจักรเย็บผ้าเข็มเดี่ยวอุตสาหกรรมสำหรับคนพิการนี้ จะทำให้คนพิการไม่คิดว่าตนเองไร้ความสามารถและสังคมยังเปิดโอกาสให้กับพวกเขาเหล่านั้น นอกจากนี้ยังทำให้คนพิการสามารถที่สร้างอาชีพให้กับตนเอง มีงานทำและมีรายได้ ไม่คิดว่าตนเองเป็นภาระต่อสังคม จากแบบสอบถามความสามารถในการใช้จักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมสำหรับคนพิการ ที่ประเมินจากเพศชายจำนวน 10 คน เพศหญิง 5 รวมจำนวน 15 ชุด พบว่า – ในด้านการใช้จักรเย็บผ้า อยู่ในระดับ 5 พึงพอใจอย่างยิ่ง/มากที่สุด 53.33 % ระดับ 4 พึงพอใจมาก/มาก 40.00 % และระดับ 3 พึงพอใจ/ปานกลาง 6.67 % – ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานอยู่ในระดับ 5 พึงพอใจอย่างยิ่ง/มากที่สุด 50.67 % ระดับ 4 พึงพอใจมาก/มาก 41.33 % และระดับ 3 พึงพอใจ/ปานกลาง 8.00 %

DOWNLOAD : การศึกษาและออกแบบจักรอุตสาหกรรมสำหรับคนพิการ