Developing on Home Economics Image in Thai Society
โดย นนทลี พรธาดาวิทย์ และอมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาพคหกรรมศาสตร์ที่เกิดจากความนึกคิด และความรู้สึกของคนในสังคมไทย วิเคราะห์จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนาของวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ และสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์คหกรรมศาสตร์ในสังคมไทย การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และคุณภาพโดยระยะที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ นิสิต/นักศึกษา และอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 200 คน และ 60 คน ตามลำดับ ระยะที่ 2 วิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม นิสิต/นักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 2000 คน อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 600 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1400 คน การ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐาน เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้ F-test และ t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของคนทั่ว ไปในสังคมที่มีต่อวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ โดยรวม เป็นภาพทางบวกโดยมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 2.64, S.D.=.234) ภาพลักษณ์คหกรรมศาสตร์ในความคิดเห็นของนักเรียน มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 2.63, S.D.=.212) ความคิดเห็นของนิสิต/นักศึกษามีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 2.64, S.D.=.234) และ ความคิดเห็นของอาจารย์มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 2.68, S.D.=.278) ผลการทดสอบความแตกต่างภาพรวมความคิดเห็นภาพลักษณ์ที่มีต่อวิชาชีพ คหกรรมศาสตร์ระหว่างกลุ่ม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มอาจารย์มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์วิชาชีพคหกรรมศาสตร์สูงกว่ากลุ่มนิสิต/นักศึกษาและกลุ่มนักเรียน ผลการทดสอบความแตกต่างตามการรู้จักวิชาชีพคหกรรมศาสตร์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย กลุ่มที่รู้จักวิชาชีพคหกรรมศาสตร์มาก มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์วิชาชีพคหกรรมศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่รู้จักวิชาชีพคหกรรมศาสตร์น้อย รองลงมาคือกลุ่มที่รู้จักคหกรรมศาสตร์มากที่สุด และกลุ่มที่รู้จักคหกรรมศาสตร์น้อยที่สุด และผลการทดสอบความแตกต่างระหว่างเพศ พบว่า เพศชายและหญิงมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์วิชาชีพคหกรรมศาสตร์ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศหญิงมีระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อสูงกว่าเพศชาย
จุดแข็งของวิชาชีพคหกรรมศาu3626 สตร์ คือเป็นสาขาที่ช่วยอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทย แสดงเอกลักษณ์ของชาติ และภูมิปญั ญา เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยขู่ องมนุษย์ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ใช้ในการดำรงชีวิต เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ สร้างและผลิตสิ่งอุปโภค บริโภคที่ดีมีคุณภาพบูรณาการความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคม และประกอบอาชีพได้หลากหลาย จุดที่ ควรพัฒนาภาพลักษณ์ในการทำอาหาร งานฝีมือ/งานประดิษฐ์/เย็บปกั ถักร้อย งานแม่บ้านแม่เรือน และตัดเย็บเสื้อผ้า แต่ละสถาบันการศึกษามีความแตกต่างกันในจุดเริ่มต้นสาขาคหกรรมศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ด้านหลักสูตร วิชาพื้นฐานไม่เพียงพอ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาตนเองสู่โลกกว้างของครูและการประชาสัมพันธ์ผลงานสู่สังคมของครู
แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์คหกรรมศาสตร์ในสังคมไทยควร การรับผู้เข้าศึกษาที่มีพื้นฐานวิชาการเพียงพอ มีความสมดุลระหว่างผู้หญิง และผู้ชาย พัฒนาหลักสูตร พัฒนาระบบการเรียนการสอน บุคลากร ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ การเปลี่ยนชื่อ และการประชาสัมพันธ์
The purposes of this study were to explore home economic image in concept to Thai society, then analyze strength, weakness and synthesis trend to adjust its image. Mixed methodology between quantitative and qualitative methods were used for collecting data 200 students and 60 lecturers were interviewed in the phase 1. Data were analyzed content analysis. In the phase 2, 2000 university students, 600 university lecturers and 1400 secondary school students were investigated by the questionnaires. Data were analyze by descriptive statistics (percentage, x , S.D.) and inferential statistics (t-test, F-test)
Findings showed that home economic image in concept of Thai society, people had positive image at more level ( = 2.64, S.D. = .234). It’s similar to secondary school students ( = 2.63, S.D. = .212) university student ( = 2.64, S.D. = .213) university lecturers ( = 2.68, S.D. =.278) After testing concept to home economic between subject group it found different significance at .05 level. University lecturers has high concept in home economic image than university and secondary school students. In the part at knowing of home economic career, it found different significance at .05 too. The more knowing group in home economic had positive concept in home economic than the most, the less and the least knowing groups. After testing by sex, it found that male and female had different image in home economic at .05 level of significance. The female had high mean score than male. Home economic was integrated career between science and social science, it had strength point in conservation of Thai culture, showing identity and local wisdom of human being, application in life and improving human quality in community, social and nation. Moreover it was department to produce consumed thing and could application in many careers. The weakness point in its image was doing of food, embroidery, house work, dressmaking. In each educational institutes had difference toward curriculum, and beginning of studying. Basic subject wasn’t sufficient and there were limitation in public relation. Trend to approve home economic image was consideration in sufficient academic basic, balance between male and female, curriculum development, studying system, personnel and upgrade in career standard, changing home of home economic and public relation.
DOWNLOAD : การพัฒนาภาพลักษณ์คหกรรมศาสตร์ในสังคมไทย