The development of self-instructional program for 2 subjects (equipment for building 1 and interior structure4) : A study for interior architecture students
โดย สรรสุดา เจียมจิต และธนพร วรฉัตร
ปี 2551
บทคัดย่อ (Abstract)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางและผลิตชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่สามารถใช้ร่วมกันระหว่างวิชาอุปกรณ์ประกอบอาคาร 1 และวิชาโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายใน 4 สำหรับนักศึกษาสถาปัตยกรรมภายใน จากหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549) ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ลำดับที่1 วิเคราะห์แยกตามรายวิชาในส่วนของลักษณะรายวิชา และการแบ่งหน่วย / บทเรียน / ข้อหัวข้อ ลำดับที่ 2 วิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาสาระของ 2 รายวิชา ลำดับที่ 3 วิเคราะห์หมวดหมู่เนื้อหา และหน่วยการสอนที่มีความสอดคล้องกัน ลำดับที่ 4 วิเคราะห์เนื้อหาของหัวเรื่องย่อยในหน่วยการสอนนั้นโดยพิจารณาเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนในเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกัน
ผลจากการศึกษาพบว่าหน่วยการสอนที่มีความสอดคล้องกันในแง่เนื้อหาได้แก่ หน่วยที่ 1 ระบบสุขาภิบาลของวิชาอุปกรณ์ประกอบอาคาร 1 สอดคล้องกับหน่วยที่ 2 โครงสร้างกับงานระบบ เรื่อง ระบบสุขาภิบาลของวิชาโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายใน 4 หน่วยที่ 3 ระบบปรับอากาศของวิชาอุปกรณ์ประกอบอาคาร 1 สอดคล้องกับหน่วยที่ 2 โครงสร้างกับงานระบบ เรื่อง ระบบปรับอากาศของวิชาโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายใน 4 หน่วยที่ 5 ระบบลิฟต์ของวิชาอุปกรณ์ประกอบอาคาร 1 สอดคล้องกับหน่วยที่ 2 โครงสร้างกับงานระบบ เรื่อง ระบบลิฟต์ของวิชาโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายใน 4 โดยการเลือกชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองในสอดคล้องกับหน่วยการสอนและเนื้อหา ดังนี้ ลำดับที่ 1 หุ่นจำลองงานระบบสุขาภิบาล อาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้นมาตราส่วน 1:30 ลำดับที่ 2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books) เรื่อง งานระบบปรับอากาศ ลำดับที่ 3 เว็บเพจ เรื่อง ระบบลิฟต์ ในรูปแบบ Flash animation
The purpose of this research is to study both self-instructional subject and produce selfinstructional program which can be use together with the equipment for building 1 subject and the interior structure 4 subject. The subject which Bachelor of Architecture Program in Interior Architecture, Faculty of Architecture, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Firstly, analyse each subject and indicate unit / topic / subtopic. Secondly, analyse both subject in terms of the consistency. Thirdly, analyse unit of the subject. Fourthly, analyse the details in subtopics.
The result of the research show the consequence between subject as: sanitary system in unit1 (equipment for building 1) and unit2 (interior structure 4), air-condition system in unit3 (equipment for building 1) and unit2 (interior structure 4), elevator system in unit5 (equipment for building 1) and unit2 (interior structure 4). And select 3 of the self-instructional program which are consistant with the subject : Model of sanitary system in the two-stories house, E-book about air-condition system and Web page about elevator system.