Perception of students toward applying the sufficiency economy philosophy to alleviate the lavish habit : A case study of the rajamangala university of technology thanyaburi’s students

โดย วิเชียร วิทยอุดม และเขมมารี รักษ์ชูชีพ

ปี 2553

บทคัดย่อ (Abstract)

การศึกษาครังนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อย 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อย 3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้แก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อย

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากรคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีทุกชั้นปี ที่สุ่มมาศึกษาโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นชาย โดยเมื่อจำแนกตามคณะที่นักศึกษาสังกัด ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ กำลังศึกษาชั้นปี ที่ 3 มากที่สุด มีระดับผล การศึกษาสูงกว่า 2.75 เป็นส่วนใหญ่ มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพค้าขายหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,000 บาท ส่วนตัวนักศึกษาเองได้รับรายได้ต่อเดือน 5,000 – 8,000 บาท เป็นส่วนใหญ่

นักศึกษามีการรับรู้ปัญหาด้านเศรษฐกจิ ในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้ปัญหาเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวสูงที่สุด และมีการทำงานพิเศษหรือหารายได้เพิ่มเพื่อช่วยเหลือครอบครัว รวมทั้งมีการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบ มีการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย เพื่อควบคุมการใช้จ่ายต่ำที่สุด นักศึกษามีการรับรู้ปัญหาด้านสังคมในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้ภาวะสังคมในปัจจุบันของไทย รวมทั้งทราบค่านิยมของสังคมไทยสูงที่สุด และมีการรับรู้เกี่ยวกับการที่สังคมปัจจุบันให้ความสำคัญกับเงิน อำนาจ และวัตถุต่ำที่สุด นักศึกษามีการรับรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้ภาวะแวดล้อมของสังคมและโลก และไม่สูบบุหรี่ ไม่รับประทานสุรา และหลีกเลายงสิ่งเสพติดและอบายมุขต่าง ๆ และคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมและส่วนรวมเป็นที่ตั้งสูงที่สุด และมีการช่วยสอดส่องลดปัญหาอาชญากรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งความสุขต่ำที่สุด

ทัศนะของนักศึกษาในด้านความพอประมาณอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักศึกษาไม่ซื้อสินค้าที่มีราคาสูงเกินไป หากมีความจำเป็นต้องใช้ นักศึกษาจะเลี่ยงไปซื้อสินค้าทดแทนที่มีราคาไม่แพงสูงที่สุด นักศึกษามีการจัดสรรเงินที่ได้รับให้เพียงพอ โดยไม่ต้องขอจากผู้ปกครองเพิ่มต่ำที่สุด ทัศนะด้านความมีเหตุผลของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยการซื้อสินค้าที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตในระดับสูง และนักศึกษามีการซื้อสินค้าที่ใช้ในการศึกษา การใช้จ่ายเงินด้วยความมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟื่อย และการพยายามหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้จ่ายอย่างมีสติต่ำที่สุดทัศนะด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีนักศึกษามีระดับของทัศนะอยู่ในระดับปานกลางนักศึกษาใช้จ่ายด้วยความระมัดระวัง และไม่ก่อหนี้สูงที่สุด การหารายได้เพิ่ม เพื่อช่วยเหลือครอบครัวต่ำที่สุด

ปัจจัยที่มีผลตอทัศนะของนักศึกษา ต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อย ได้แก่ คณะที่นักศึกษาสังกัด การรับรู้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การรับรู้ปัญหาด้านสังคม และการรับรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลและสามารถอธิบายความผันแปรของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปแก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อยของนักศึกษาได้มากที่สุด คือ การรับรู้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมา คือ การรับรู้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ส่วนการรับรู้ปัญหาด้านสังคม เป็ นตัวแปรที่มีอิทธิพลและสามารถอธิบายความผันแปรของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปแก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อยของนักศึกษาได้น้อยที่สุด

Objectives of this study are 1) to study perception of students toward applying the sufficiency economy philosophy to alleviate the lavish habit 2) to study factors affect perception of students toward applying the sufficiency economy philosophy to alleviate the lavish habit 3) to study problems and suggestions in this

area.

This is a survey research, samples composed of students from RMUTT totally 100 students, Bachelor Degree level. Questionnaires are used as the instrument. Findings indicate the following :

Majority of students, are male, study at Business Administration, third year level, average grade point 2.75, living in Bangkok and nearby area. Parent earn living by doing business and private entrepreneur, income more than 40,000 Baht, students received 5,000 – 8,000 Baht/month.

Perception of students toward applying the sufficiency economy philosophy to alleviate the lavish habit are in the middle level, perception about family economic problem is the highest, part time job, expenditure planning, income expenditure account is the lowest level. Perception about social are in the middle level, recent Thai social condition and perception is the highest, perception about the importance of money, power and materials is the lowest.

Perception about environment is in the middle, perception about world environment, non smoking, no drink, avoid wrong-doing, think about peaceful social as a whole is the highest, inspect social crime that make social happiness is the lowest. Perception about sufficiency is in the middle, students doesn’t want to buy expensive

goods, buying substitute instead is the highest level. Allocation money received from parent by not asking more is the lowest level. Perception about reasoning is in the middle. Buying necessary goods is the highest level. Students buys stationary, spend money with reasoning thinking is the lowest level. Perception about life protection is in the middle. Careful spending money, no debt, earn more to help family is the lowest score.

Factors affection perception of students towards applying the sufficiency economy are faculty studied , perception about economic problems, social problems, and environment problems. Variables that can explain and influence variation are perception about social, second is the economic problems; whereas, social problems is the variable that influence and explain the variation of sufficiency economy philosophy to alleviate the lavish habit is the lowest.

DOWNLOAD : ทัศนะของนักศึกษาต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การแก้ปัญหาความฟุ่มเฟื่อย : กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี